อาชีพของผู้ที่ศึกษาทางเศรษฐศาสตร์

อาชีพของผู้ที่ศึกษาทางเศรษฐศาสตร์

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญธรรม ราชรักษ์
รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ฝ่ายกิจการนักศึกษา



อาชีพ คือ อะไร

อาชีพ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต ให้ความหมายไว้ว่า การเลี้ยงชีวิต การทำมาหากิน ฉะนั้น ในประเด็นที่ว่าอาชีพของผู้ที่เรียนทางเศรษฐศาสตร์ จึงแสดงนัยที่ว่า คนที่เรียนเศรษฐศาสตร์สำเร็จแล้วออกไปทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างไร หน่วยงานใดบ้างที่จะรับเศรษฐศาสตรบัณฑิต(ศ.บ.) เข้าไปเป็นบุคลากรของหน่วยงาน

ทางก้าวสู่อาชีพของคนที่เรียนเศรษฐศาสตร์

โอกาสในการเข้าสู่อาชีพของผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในชั้นปริญญาตรีก็คือวุฒิ เศรษฐศาสตรบัณฑิต แบ่งออกได้เป็น 2 ภาคใหญ่ๆ คือ ภาครัฐบาลและภาคเอกชน

การเข้าสู่อาชีพในภาครัฐบาลแบ่งได้อีก 2 ประการ คือ ประการแรก การเข้ารับราชการ ในส่วนราชการต่าง ๆ อาจเป็นกรมที่มีบทบาทในการศึกษาวิเคราะห์ เสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจ หรือกองที่ศึกษาทางด้านเศรษฐกิจของกรมใดกรมหนึ่ง หรือระดับงานที่ศึกษาทางด้านเศรษฐกิจของกองใดกองหนึ่งในกรมใดกรมหนึ่ง ซึ่งโอกาสก้าวหน้าก็จะแตกต่างกันไป ประการที่สอง การบรรจุเข้าเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ

การเข้าสู่ตำแหน่งในภาคเอกชน ได้แก่ เข้าเป็นพนักงานของ บริษัท ห้างร้านต่างๆของเอกชน รวมทั้งการนำเอาความรู้ไปประกอบกิจการส่วนตัว

ส่วนราชการที่รับผู้มีคุณวุฒิ เศรษฐศาสตรบัณฑิต

ผมคิดว่ามีนักศึกษาจำนวนมากยังคงใฝ่ฝันเข้ารับราชการโดยคิดว่าเป็นงานที่มั่นคง ยิ่งภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ ผลตอบแทนหรือรายได้ที่ได้รับเมื่อเริ่มต้นเข้าสู่ตำแหน่งงานก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ผมขอเรียนให้นักศึกษาทราบว่า ส่วนราชการในระดับกรมในสังกัดกระทรวงต่างๆที่รับผู้มีคุณวุฒิ เศรษฐศาสตรบัณฑิต มีดังนี้

สำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่

สำนักงบประมาณ (นักวิชาการงบประมาณ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ )

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน )

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ( นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน และ อื่นๆ )

สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบก (นักวิชาการ )

กระทรวงการคลัง ได้แก่ กรมต่าง ๆ ดังนี้

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ( เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน )

กรมสรรพากร (นักวิชาการภาษี นักวิชาการสรรพากร สรรพากร )

กรมสรรพสามิต ( เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ภาษี สรรพสามิต )

กรมบัญชีกลาง (นักวิชาการคลัง )

กรมศุลกากร ( นักวิชาการภาษี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ภาษี )

กรมธนารักษ์ ( เจ้าหน้าที่จัดสรรประโยชน์ นักวิชาการราชพัสดุ )

กระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ กรมต่าง ๆ ดังนี้

กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ( เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน )

กรมการค้าต่างประเทศ ( เศรษฐกร นักวิชาการพาณิชย์ )

กรมการค้าภายใน (เศรษฐกร นักวิชาการพาณิชย์ )

กรมส่งเสริมการส่งออก ( นักวิชาการพาณิชย์ )

สำนักงานปลัดกระทรวง ( นักวิชาการพาณิชย์ )

4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมต่างๆ ดังนี้

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ( เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน )

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ( นักวิชาการสหกรณ์ )

สำนักงานปลัดกระทรวงฯ ( เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน )

กรมปศุสัตว์ ( เศรษฐกร )

กรมชลประทาน ( เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน )

กรมพัฒนาที่ดิน (เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน )

5. กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ กรมต่างๆ ดังนี้

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน )

สำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม ( นักวิชาการฯ )

6. กระทรวงคมนาคม ได้แก่ กรมต่าง ๆ ดังนี้

สำนักงานพาณิชย์นาวี (นักวิชาการพาณิชย์นาวี )

กรมการขนส่งทางบก (นักวิชาการขนส่ง )

กรมไปรษณีย์โทรเลข ( นักวิชาการสื่อสาร )

กรมทางหลวง ( นักวิชาการฯ )

7. กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ กรมต่างๆ ดังนี้

กรมการพัฒนาชุมชน ( พัฒนากร นักวิชาการพัฒนาชุมชน )

กรมผังเมือง ( เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ผังเมือง )

กรมที่ดิน (เจ้าหน้าที่ประเมินราคา )

8. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้แก่ กรมต่างๆ ดังนี้

กรมการจัดหางาน ( นักวิชาการแรงงาน )

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ( นักวิชาการแรงงาน )

9. กระทรวงต่างประเทศ ได้แก่ กรมต่าง ๆ ดังนี้

กรมเศรษฐกิจ (นักการทูต )

10. กระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่

กรมอาชีวะศึกษา ( อาจารย์ตามวิทยาลัยต่างๆ นักวิชาการศึกษา )

11. ทบวงมหาวิทยาลัย ได้แก่

มหาวิทยาลัยต่างๆ (นักวิชาการศึกษา นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ)

ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( นักวิชาการจัดเก็บรายได้ นักวิชาการคลัง )

สายงานในตำแหน่งพนักงานรัฐวิสาหกิจ

ตำแหน่งงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่น่าสนใจมีดังนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย ( เศรษฐกรผู้ช่วย )

ธนาคารออมสิน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

การไฟฟ้านครหลวง

การไฟฟ้าภูมิภาค

การประปาภูมิภาค

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

บริษัท การบินไทย จำกัด

สายงานในภาคเอกชน

สายงานในภาคเอกชนมีความหลากหลายมาก ทั้งกิจการของสถานประกอบการ ขนาดของกิจการ และประเภทของกิจการ ซึ่งอาจสรุปได้ เป็น 3 ประการใหญ่ๆ คือ

ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ (พนักงานสินเชื่อ และ อื่นๆ )

บริษัทธุรกิจเอกชน (เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย เจ้าหน้าที่การเงิน พัสดุ และ อื่นๆ )

ประกอบอาชีพอสระ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว

ทางก้าวของตำแหน่ง

ตำแหน่งงานสายตรงของคนเรียนเศรษฐศาสตร์ คือ ตำแหน่งเศรษฐกร และ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน(ด้านเศรษฐศาสตร์) ในกรมต่างๆที่ทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย การจัดทำแผนและนโยบายเศรษฐกิจในด้านต่างๆ แก่กระทรวงเจ้าสังกัด

ส่วนตำแหน่งงานในสายสนับสนุน ได้แก่การเป็นนักวิชาการ ในงานต่างๆของส่วนราชการระดับกอง หรือ เป็นนักวิชาการ ในกองต่างๆของส่วนราชการระดับกรม

ส่วนงานในภาคเอกชน จะขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ ถ้าเป็นกิจการขนาดใหญ่โอกาสก้าวหน้าจะยิ่งมีมาก อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะทำงานอะไร ทางเดินจะก้าวไกลแค่ไหนตัวตนเป็นคนกำหนด เป็นคนที่มีความรู้รอบและรอบรู้ มีศิลปในการทำงาน อดทนและใจสู้ เพราะความสำเร็จจะเกิดได้ก็โดยตน รู้ตั้งต้นรู้พยายามติดตามงาน

Comments

Popular posts from this blog

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

การเดินทางของวิชาเศรษฐศาสตร์

ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ม�