ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายความหมายของธุรกิจได้
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและอธิบายถึงสาเหตุที่ต้องศึกษาธุรกิจได้
เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายถึงระบบเศรษฐกิจได้
เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายถึงการวัดผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจได้
เพื่อให้ผู้เรียนบอกถึงชนิดของการแข่งขันได้
เพื่อให้ผู้เรียนบอกถึงหน้าที่ขององค์การธุรกิจได้

ธุรกิจเป็นลักษณะหนึ่งของการดำเนินงานที่อาจจะอยู่ในรูปของการผลิตสินค้า การบริการ หรือการจัดจำหน่ายสินค้าไปยังผู้บริโภค ซึ่งการดำเนินงานทางด้านธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องใช้ความพยายาม ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ จึงจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ฉะนั้น การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจจะทำให้เกิดความเข้าใจถึงความสำคัญ หรือประโยชน์ หรือสาเหตุที่ต้องศึกษาเรื่องธุรกิจ การเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ ระบบเศรษฐกิจ การวัดผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ จะเป็นรายละเอียดที่จะต้องศึกษาต่อไป

ความหมายของธุรกิจ
ธุรกิจ (Business) คือ ความพยายามอย่างเป็นแบบแผนของนักธุรกิจในการผลิตและขายสินค้า หรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยมุ่งหวังกำไรเป็นการตอบแทน หรือ ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการลงมือทำงานของบุคคลที่จัดหาหรือสรรหาสินค้าบริการเพื่อตอบสนองความของผู้บริโภค กิจกรรมที่บุคคลลงมือทำดังกล่าวจะมีผลสะท้อนที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคที่มีประสิทธิภาพด้วยวิธีการ และหลักเกณฑ์ทางวิทยาการตามสภาวะทางเศรษฐกิจโดยทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของบุคคลพร้อมกับมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในงานที่ทำ ภายใต้การคำนึงถึงจรรยา- บรรณ ในการดำเนินงานทางธุรกิจนั้นๆ ด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า ธุรกิจ หมายถึง ความพยายามของนักธุรกิจต่างๆ เช่น กิจการธุรกิจ อุตสาหกรรม ธุรกิจอุตสาหกรรมเหล็ก อย่างไรก็ตามคำว่า “ธุรกิจ” อาจมีความหมายแตกต่างกันไป ธุรกิจ อีกความหมายหนึ่ง หมายถึงกิจการที่ประกอบธุรกิจตามความถนัด เช่นบริษัทไทยน้ำทิพย์ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัทการบินไทยจำกัด เป็นต้น การประกอบธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องมีการจัดการอย่างเป็นแบบแผนและสนองความต้องการของลูกค้าได้
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คือผู้ที่ยอมทุ่มเทเวลา ความพยายาม และเงินทุน เพื่อเพิ่มมูลค่าและดำเนินธุรกิจในการดำเนินธุรกิจนั้น โดยใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานต่อไปนี้
1. ทรัพยากรวัสดุ (Material resources) หมายถึง ทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบ อาคาร เครื่องจักร และเครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต
2. ทรัพยากรบุคคล (Human resources) หมายถึง บุคคลที่ทุ่มเทแรงงานให้ธุรกิจโดยได้รับค่าตอบแทน
3. ทรัพยากรการเงิน (Financial resources) หมายถึง เงินทุนที่ต้องมีไว้เพื่อจ่ายให้กับลูกจ้าง ซื้อวัตถุดิบ ซื้อเครื่องมือ เครื่องจักร และเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
4. ทรัพยากรข้อมูล (Informational resources) หมายถึง ข้อมูลที่ให้ผู้ประกอบการหรือผู้จัดการทราบถึงความมีประสิทธิภาพในการใช้ร่วมกันของทรัพยากรทั้ง 3 ชนิดแรก








ประเภทของธุรกิจ
ในปัจจุบันธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ธุรกิจการผลิต (Manufacturing businesses) เป็นธุรกิจที่แปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น เสื้อผ้า รถยนต์ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
2. ธุรกิจบริการ (Service businesses) เป็นธุรกิจที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่บุคคล เช่น ร้านเสริมสวย ร้านตัดเสื้อ สำนักงานทนายความ คลินิก เป็นต้น
3. คนกลางทางการตลาด (Marketing middleman) เป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตและขายต่อไปยังผู้บริโภคในร้านค้าปลีกใหญ่ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

เป้าหมายของธุรกิจ (Business goal)
การดำเนินงานทางด้านธุรกิจมีเป้าหมายดังนี้
1. การตอบสนองความต้องการ (Satisfying needs) เป็นเป้าหมายสูงสุดของการทำธุรกิจโดยทั่วไปแล้วการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของลูกค้ามักมุ่งที่การสนองความพอใจของตนมากกว่าการได้เป็นเจ้าของเพียงอย่างเดียว เช่น คนที่ซื้อรถยนต์ก็มักต้องการรถยนต์ที่มีความแข็งแกร่งทนทานสูง ประหยัดน้ำมัน แต่บางคนเลือกซื้อรถยนต์เพื่ออำนวยความสะดวก ความสวยงาม ความหรูหรา และความปลอดภัยโดยที่ไม่คำนึงเลยว่าจะประหยัดน้ำมันหรือไม่ ราคาจะถูกจะแพงอย่างไร ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจต่อการตอบสนองความต้องการและความพอใจของลูกค้าเสมอ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จ
2. กำไรของธุรกิจ (Business profit) กำไรที่เกิดจากธุรกิจถือเป็นผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ ถือเป็นผลตอบแทนความสี่ยงในการลงทุนทำธุรกิจ บางครั้งรายได้ทั้งหมดอาจถูนำไปจ่ายให้พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ขายวัตถุดิบ ชำระหนี้จนไม่เหลือเป็นกำไร สำหรับเป็นค่าตอบแทนความเสี่ยงเลย ฉะนั้น จึงถือได้ว่าการทำธุรกิจเป็นการเสี่ยง เสี่ยงต่อการที่จะสูญเสียเงิน ความพยายาม และเวลา

วัตถุประสงค์ในการศึกษาธุรกิจ
ในการศึกษาธุรกิจ (Study business) จะทำให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกบธุรกิจในด้านต่างๆ ดังนี้
1. เป็นลูกค้าและผู้ลงทุนที่ฉลาด (Better – informed consumer and investor ) ในโลกของธุรกิจ ปัจจุบันลูกค้าไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัย รถยนต์ เป็นต้น จากผู้ขายโดยไม่ผ่านขั้นตอนการซื้อขายทางธุรกิจ (Business transaction) สิ่งเหล่านี้ย่อมอธิบายถึงลักษณะที่แท้จริงของระบบธุรกิจแบบทุนนิยม (สิ่งหนึ่งคือสนองความต้องการของชุมชน) การศึกษาถึงระบบธุรกิจจะทำให้ผู้ที่เป็นลูกค้าและผู้ลงทุนได้รับข้อมูลมากขึ้น เป็นผลให้เขาเหล่านั้นมีความฉลาดรอบรู้ที่จะตัดสินใจซื้อหรือจ่ายเงินเพื่อลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม
2. เป็นลูกจ้าที่ดีขึ้น (Better employee) ทั้งลูกค้าและผู้ลงทุนต่างก็ทำงาน จึงต้องยอมรับว่าในปัจจุบันทุกคนจะมองหางานหรืออาชีพที่ถูกใจและมีรายได้สูงขึ้น ข้อมูลที่ได้จากการ ศึกษาธุรกิจจะช่วยให้เลือกอาชีพอุดมคติได้ ดังนั้น จึงพบว่าคนส่วนใหญ่จะทำงานกับธุรกิจแต่ก็มีบ้างที่รับราชการและทำงานในองค์การที่ไม่มุ่งกำไร
หลังจากเลือกอาชีพได้แล้วก็หันมาศึกษาหาความชำนาญ เพื่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพส่วนนายจ้างก็มองหาผู้สมัครงานที่มีความสามารถทั้งด้านวิชาการ และบุคคลสัมพันธ์เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ ตลอดจนสามารถอยู่กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมีความสุขสงบ ความสามารถเหล่านี้เมื่อรวมกับความรู้ในเรื่องการทำงานของระบบธุรกิจจะทำให้ผู้นั้นได้เปรียบผู้สมัครงานรายอื่น
3. เริ่มต้นทำธุรกิจของตนเอง (Start your own business) บางคนชอบทำธุรกิจส่วนตัว มากกว่าการเป็นลูกจ้างอยู่ในวงธุรกิจของผู้อื่น ซึ่งกว่าจะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจต้องมีความสามารถหลายด้านเช่นเดียวกับลูกจ้างที่ดี สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือความตั้งใจในการทำงานหนักตลอดเวลา แต่ผลสุดท้ายกลับปรากฏว่า ธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ถึง 70 % ต้องประสบความล้มเหลวใน 5 ปีแรก ของการดำเนินธุรกิจ

ชนิดของระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ (Economic system หรือ Economy) หมายถึง กรอบของการดำเนินงานทางเศรษฐกิจที่แต่ละประเทศ แต่ละสังคมดำเนินงาน หรือหมายถึง ระบบซึ่งสังคมจะตอบคำถาม 2 ประการ คือ 1) จะสร้างความมั่งคั่งอย่างไร 2) จะกระจายอย่างไร ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalistic system) หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned system) คำถาม 2 ประการนี้จะมีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลและองค์การในการศึกษาระบบเศรษฐกิจต้องอาศัยวิชาเศรษฐศาสตร์เข้าช่วย การที่จะดูว่าแต่ละประเทศดำเนินเศรษฐกิจตามระบบเศรษฐกิจแบบใดนั้น สามารถพิจารณาได้จากคำถามพื้นฐาน 4 ประการที่ใช้ในการพิจารณาระบบเศรษฐกิจของประเทศคือ 1) ผลิตอะไร จำนวนเท่าไร 2) ผลิตอย่างไร 3) ผลิตเพื่อใคร 4) ใครเป็นเจ้าของและควบคุมปัจจัยหลักของการผลิต
ปัจจัยการผลิต (Factors of production) ประกอบด้วย
1. ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึง ทรัพยากรที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้ในการผลิต ได้แก่ ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และแร่ธาตุ
2. แรงงาน (Labor) หมายถึง ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ
3. ทุน (Capital) หมายถึง โรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร และเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานขององค์การ
4. การประกอบการ (Entrepreneurship) หมายถึง ความเต็มใจที่จะเสี่ยง รวมทั้งความรู้แบะความสามารถที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบเศรษฐกิจ (Entrepreneurship) ประกอบด้วย 1) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม 2) ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน ซึ่งประกอบด้วยระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์
1. ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม (Capitalism) คือ ระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของและดำเนินงานในส่วนสำคัญของธุรกิจ คือ จัดหาสินค้า การบริการ ตามที่ Adam Smith ได้เขียนไว้ในหนังสือ The wealth of nations ปี 1776 กล่าวว่าสังคมจะได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อเอกชนทั่วไปในสังคมนั้นมีสิทธิ์ แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนมากที่สุด นั่น คือ เขาเชื่อว่าเอกชนควรมีสิทธิ์ทำงานและรับผลกำไร โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล คือ ปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นของประชาชน คือ ปล่อยให้ดำเนินงานกันเองตามความเหมาะสม และตามที่เห็นสมควร เรียกการบริหารลักษณะนี้ว่า แบบเสรีนิยม ( Laissez faire)
ระบบทุนนิยมแบบเสรีของ Adam smith ประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 4 ประการ คือ 1) การก่อให้เกิดความมั่งคั่ง (รวมทั้งสินค้า) ควรเป็นของเอกชนไม่ใช่ของรัฐ ดังนั้น ทรัพยากรที่ใช้ในการก่อให้เกิดความมั่งคั่ง จึงต้องเป็นของเอกชนด้วย 2) ผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรควรมีอิสระในการจัดสรรทรัพยากรเหล่านั้น เพื่อหารายได้และผลประโยชน์ของเขา 3) ระบบเศรษฐกิจจะทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดที่ยอมให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายตัดสินใจเลือกว่าจะเข้าหรือออกจากตลาดนี้ได้เอง นั่นคือเป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี (Free market economy) 4) บทบาทของรัฐควรถูกจำกัดอยู่เฉพาะการป้องกันจากศัตรูภายนอก รักษาความสงบภายในประเทศจัดสร้างระบบสาธารณูปโภค และการศึกษา ส่วนด้านเศรษฐกิจรัฐบาลควรมีหน้าที่เป็นเพียงผู้กำหนดกติกา และเป็นกรรมการตัดสินเท่านั้น
2. ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned economies) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกับระบบทุนนิยมอย่างชัดเจน เพราะคำตอบที่ได้จากคำถามพื้นฐาน 4 ข้อ สรุปได้ว่าเป็นระบบที่มีวางแผนมาจากรัฐบาลกลางไม่มากก็น้อย ซึ่งประกอบด้วย

2.1 ระบบสังคมนิยม ( Socialism) ระบบเศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลจะเป็นเจ้าของและควบคุมอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การขนส่ง การสาธารณูปโภค การสื่อสาร และการผลิตวัตถุดิบที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของชาติ ในบางประเทศรัฐบาลจึงมักเข้าควบคุมธนาคารใหญ่ ๆ ที่ดิน และวัตถุดิบอาจเป็นสมบัติของรัฐบาลเช่นกัน ในบางประเทศรัฐบาลยอมให้ประชาชนเป็นเข้าของที่ดินและอาคารรวมทั้งธุรกิจขนาดย่อมที่มีความสำคัญน้อยได้บ้าง โดยทั่วไปแล้วประชาชนมีสิทธิเลือกอาชีพได้ แต่คนส่วนใหญ่กลับเลือกทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐบาล
สำหรับอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเป็นเจ้าของจะผลิตอะไรและอย่างไรนั้น ขึ้นกับเป้าหมายของชาติที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าจากส่วนกลาง โดยคำนึงถึงทรัพยากรของชาติที่มีอยู่ การจำหน่ายสินค้าและบริการก็ถูกควบคุมโดยรัฐบาลเช่นกัน ด้วยการกำหนดอัตราค่าเช่าและค่าแรง เป้าหมายสำคัญส่วนหนึ่งของประเทศสังคมนิยมคือการกระจายรายได้อย่างเสมอภาค ขจัดความยากจน กระจายสวัสดิการ (ค่ารักษาพยาบาล) ให้กับทุกคนที่ต้องการ ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างช้าๆ และขจัดความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่มักเกิดกับการแข่งขันในระบบทุนนิยม
ประเทศประชาธิปไตยที่ยังใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมอยู่บ้าง ได้แก่ ประเทศอังกฤษฝรั่งเศส สวีเดน และอินเดีย อย่างไรก็ดีประเทศที่รัฐบาลเข้าควบคุมระบบเศรษฐกิจจนเกือบไม่มีอิสรภาพเลยถูกจัดให้อยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
2.2 ระบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ถ้าถือว่า Adam Smith เป็นบิดาแห่งระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม Karl Marx ก็คือ บิดาแห่งระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ระหว่างกลางของศตวรรษที่ 19 Marx ได้กำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับคนงาน ที่ถูกเอาเปรียบ เมื่อเป็นระบบคอมมิวนิสต์แล้วคนงานทุกคนจะทำงานให้กับสังคมอย่างเต็มใจตามความสามารถ เพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา
ประเทศจีนและคิวบา ยังเป็นประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมด และคำตอบที่ได้จากคำถามพื้นฐานสรุปได้ว่าเป็นการวางแผนมาจากส่วนกลาง มีการกำหนดราคาและอัตราค่าแรงงานโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของประชาชน การเลือกผลิตสินค้าก็เช่นเดียวกันที่รัฐบาลไม่สนใจความต้องการของประชาชนทำให้เกิดความขาดแคลนสินค้าเพื่อการบริโภค (Consumer goods) ขึ้นบ่อยครั้ง คนงานระดับกลางและต่ำไม่สามารถเลือกงาน แต่คนงานระดับฝีมือยังเป็นที่ต้องการ มีรายได้สูงและสิทธิพิเศษ เช่น ข้าราชการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และนักกีฬา เป็นต้น
ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ไม่ได้เป็นไปตามแนวความคิดของ Mark ทั้งหมดอีกแล้วแต่กลับหันไปหาระบบสังคมนิยมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดแทน คือยอมให้ทำการค้าเสรีได้บ้าง ในความเป็นจริงแล้วประเทศต่างๆ จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจอยู่เสมอ ตัวอย่าง เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเปลี่ยนแปลงช้าๆ ขณะที่ประเทศอื่นมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าโดยใช้วิธีปฏิวัติ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ประเทศที่เริ่มจากระบบเศรษฐกิจทิศทางหนึ่งอาจเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามจึงเป็นไปไม่ได้ว่าจะยังมีระบบเศรษฐกิจใดใกล้เคียงกับระบบคอมมิวนิสต์ของ Marx เหลืออยู่อีก
การวัดผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ
การวัดผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ (Measuring economic performance) ของชาติใด ชาติหนึ่ง คือการประเมินความสามารถในการผลิต (Productivity) ซึ่งความสามารถในการผลิต หมายถึง ระดับเฉลี่ยของผลผลิตต่อคนงานต่อชั่วโมง เป็นการวัดประสิทธิภาพของการผลิตสำหรับระบบเศรษฐกิจ แต่ละระบบ การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิตเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะแรงงานที่กำหนดให้นั้นสามารถผลิตสินค้าและบริการได้จำนวนมากขึ้น การวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product หรือ GNP) ซึ่งหมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประชาชนของประเทศนั้นในงวดเวลาที่กำหนด เช่น นำ GNP ในปี พ.ศ. 2545 ของประเทศไทย เท่ากับ 5.5 ล้านล้านบาท มาเทียบกับ GNP ของวดเวลาอื่นเพื่อดูความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์อาจนิยมใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product หรือ GDP) ซึ่งหมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศมาเป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานของเศรษฐกิจ คำนิยามของ GDP และ GNP จะคล้ายกันมาก แต่มีข้อแต่ต่างคือ GDP จะไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ

ชนิดของตลาดในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือ ระบบตลาดเสรี (Free market system) แสดงให้เห็นการแข่งขันระหว่างผู้ขายสินค้าและทรัพยากร นักเศรษฐศาสตร์แบ่งการแข่งขันในตลาดออกเป็น 4 ตลาด คือ 1) ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure competition) 2) ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic competition) 3) ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) 4) ตลาดผูกขาด (Monopoly) ออกเป็น 4 ระดับ ตั้งแต่มีการแข่งขันสูงสุดถึงไม่มีการแข่งขันเลยดังนี้
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure competition) เป็นสถานการณ์ทางตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าชนิดเดียวกันหลายราย แต่ไม่มีใครมีอิทธิพลมากพอที่จะควบคุมราคาของสินค้านั้นได้ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์นี้มีแนวความคิดที่สำคัญ ดังนี้ 1) เน้นที่ตลาด ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ข้าวสาร 2) ผู้ขายทุกคนเสนอขายสินค้าที่มีลักษณะและคุณภาพใกล้เคียงกันมากจนผู้ซื้อมองไม่เห็นความแตกต่าง เมื่อใช้ราคาขายเดียวกัน 3) ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายรับรู้ข้อมูลทางการตลาด เช่น ราคาตลาดของสินค้า ได้สะดวกเท่าเทียมกัน 4) ตลาดจะไม่ได้รับผลกระทบโดยการกระทำของผู้ซื้อหรือผู้ขายรายใดเพราะมีผู้ซื้อและผู้ขายมากราย การซื้อขายแต่ละรายมีจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกันทั้งตลาด
เมื่อใช้การแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ขายทุกคนต้องใช้ราคาเดียวกัน เพราะถ้าแตกต่างกันโดยตั้งราคาที่สูงกว่าแล้วจะทำให้ขายไม่ได้ เนื่องจากผู้ซื้อจะหันไปซื้อจากคู่แข่งขันที่เสนอราคาต่ำกว่าหรือยอมลดราคาลงบ้างเพื่อต้องการขายสินค้านั้นให้หมดเร็วขึ้น โดยยอมรับกำไรลดลงกว่าการขายในราคาตลาด เพราะผู้ซื้อเต็มใจซื้อในราคาตลาดอยู่แล้วแต่ใครคือผู้กำหนดราคานั้น ความจริงแล้วราคาผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดถูกกำหนดโดยการกระทำของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายโดยอาศัยการควบคุมของอุปทานและอุปสงค์ (Supply and demand) ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างก็รักษาผลประโยชน์สูงสุดของตนดังที่ Adam Smith เรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible hand) ของการแข่งขัน ซึ่งอธิยายได้ดังนี้
1.1 หลักพื้นฐานของอุปทานและอุปสงค์ (The basics of supply and demand) อุปทานขอสินค้าใดสินค้าหนึ่ง คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตตั้งใจจะขายที่ระดับราคาหนึ่งในหลายราคา และคาดได้ว่าเขาจะเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นถ้าได้ราคาสูงขึ้น และจะเสนอขายสินค้าในปริมาณที่น้อยลงถ้าราคาลดลง ดังรูปที่ 1.2
อุปสงค์ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งคือปริมาณสินค้าที่ผู้ซื้อตั้งใจซื้อที่ระดับราคาหนึ่งในหลายราคา และคาดได้ว่าเขาจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อซื้อสินค้าปริมาณมากในราคาที่ลดลง และจะซื้อน้อยลงเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้นคนจะหันไปซื้อสินค้าอย่างอื่นที่ใช้แทนกันได้ คือไม่ใช้สินค้าเดิมเลยหรือลดปริมาณการซื้อลง และจะซื้อสินค้านั้นในปริมาณมากขึ้นเมื่อราคาลดลง


ราคาต่อหน่วย 100
90
80
70
60
50
40
30
20
10
0 100 200 300 400 500 600
ปริมาณ (Quantity)
รูปที่ 1.2 แสดงดุลยภาพของตลาด (Market equilibrium)

1.2 ราคาดุลยภาพหรือราคาตลาด (The Equilibrium price or market price) ตามปกติแล้วจะต้องมีราคา ณ จุดหนึ่ง ซึ่งทำให้ปริมาณอุปสงค์ของสินค้าชนิดหนึ่งเท่ากับปริมาณอุปทานของสินค้าชนิดนั้น สมมติว่าผู้ผลิตตั้งใจจะผลิตข้าวสาร 2 ล้านกิโลกรัม และขายในราคากิโลกรัมละ 20 บาท ส่วนผู้ซื้อสินค้าตั้งใจซื้อข้าวสารปริมาณ 2 ล้านกิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท กรณีนี้จะเกิดจุดที่อุปทานและอุปสงค์เท่ากันหรือจุดดุลภาพและที่ระดับราคา 20 บาท นักเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า ราคาดุลยภาพหรือราคาตลาด ภายใต้วิธีการแข่งขันสมบูรณ์ราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ คือ ราคา ณ จุดที่ปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณของอุปทานพอดี หมายถึงถ้าผู้ผลิตผลิตข้าวสาร 2 ล้านกิโลกรัมแล้วจะไม่มีใครเลยที่เสนอซื้อในราคากิโลกรัมละ 20 บาท แล้วซื้อไม่ได้ และไม่มีผู้ขายใดเลยที่เสนอขายในราคากิโลกรัมละ 20 บาท แล้วขายไม่ได้
ตามทฤษฎีของโลกแห่งความจริงแล้ว ราคาตลาดมีอิทธิพลต่อทุกสิ่งที่กระทบอุปทานและ อุปสงค์ ตัวอย่างเช่น อุปสงค์ของข้าวสารอาจเปลี่ยนไปหากมีผู้ทำวิจัยพบว่าข้าวสารมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่ เคยรับรู้มาก่อน ผู้ใช้ก็จะเพิ่มความต้องการในข้าวสารทำให้ราคาข้าวสารสูงขึ้น หรืออุปทานของข้าวสารอาจเปลี่ยนถ้ามีการยอมรับเทคโนโลยีใหม่เข้ามาทำให้ผลิตข้าวต่อไร่ได้มากขึ้น ในกรณีนี้ผู้ผลิตจะยินดีค้าขายสินค้า (ข้าวสาร) ในปริมาณที่มากขึ้นในราคาที่เปลี่ยนไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจะมีผลต่อราคาใหม่ของตลาดด้วยการเปลี่ยนแปลงอื่นที่มีผลกระทบต่อราคาก็คือการเปลี่ยนรสนิยมของผู้ซื้อ หรือการพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อให้สนองความต้องการเก่าและการยืดหยุ่นในรายได้ซึ่งจะมีผลต่อเงินเฟ้อหรือเงินฝืด
2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic competition) ตลาดที่มีสภาพใกล้เคียงความเป็นจริงในปัจจุบันก็คือตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ซึ่งมีลักษณะหลายประการคล้ายตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ได้แก่ ตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายหลายราย (ปัจจุบันอาจมีจำนวนผู้ขายน้อยลงกว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์) แต่จะต้องมากพอที่จะประกันตลอดชีวิต
ความแตกต่างของสินค้าเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตยอมรับว่าสำหรับสินค้าเพื่อการอุปโภค และบริโภคตั้งแต่สบู่ เสื้อผ้า ไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อทำให้ผู้ซื้อมองเห็นความแตกต่างในสินค้าที่คล้ายกันได้แล้ว ผู้ผลิตจะสามารถควบคุมราคาตลาดของสินค้าได้บ้าง ดังเช่น ราคาถุงน่องสตรีจะแตกต่างกันตามชื่อยี่ห้อที่ต่างกัน แต่ภายใต้การแข่งขันสมบูรณ์แล้วราคาของถุงน่องสตรีทุกยี่ห้อ จะเท่ากันคือเป็นราคาดุลยภาพ
3. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) เป็นตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นผู้ขายรายใหญ่ ทั้งจำนวนเงินลงทุนและขนาดของกิจการ ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมแบบตลาดผู้ขายน้อยราย จึงยังคงรักษาสภาพต่อไปได้ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น
เนื่องจากมีผู้ขายน้อยราย ผู้ขายแต่ละรายจึงสามารถควบคุมราคา ขณะเดียวกันตลาดของผู้ขายแต่ละรายจะมีผลกระทบอย่างมากต่อยอดขายของคู่แข่งขัน เช่น ถ้าบริษัท General Motors ลดราคารถยนต์ของบริษัทลง จะมีผลทำให้บริษัทผลิตรถยนต์รายอื่นต้องลดราคาลงตามด้วย เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไว้ แต่ถ้าบริษัทตนที่ต่ำกว่าจะมีผลทางการแข่งขันอย่างไรแล้ว จึงตัดสินใจดำเนินต่อตามที่เห็นว่าเหมาะสม สรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์เดียวกันย่อมมีราคาใกล้เคียงกัน เนื่องจากไม่ใช่ตลาดที่แข่งขันโดยใช้ราคาจึงต้องหันมาใช้ความแตกต่างของสินค้าเป็นเครื่องมือในการแข่งขันแทน
4. ตลาดผูกขาด (Monopoly) คือ ตลาด (หรืออุตสาหกรรม) ที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว เพราะมีผู้จัดหาวัตถุดิบป้อนการผลิตสินค้าเพียงรายเดียว จึงมีอำนาจในการกำหนดราคา แต่อย่างไรก็ตามไม่มีกิจการใดสามารถกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ให้สูงเกินไปได้ เพราะจะทำให้สินค้าขายไม่ได้ ดังนั้น กิจการผูกขาดจึงต้องพิจารณาอุปสงค์ของสินค้าและกำหนดราคา ณ ระดับที่ก่อให้เกิดกำไรสูงสุด

เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ตารางที่ 1.1 จะแสดงการเปรียบเทียบลักษณะตลาดต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ดังนี้

ตารางที่ 1.1 แสดงการเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ ของโครงสร้างตลาดในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ลักษณะตลาดและการแข่งขันในตลาด
(Market and competition) ตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์
(Pure competition) ตลาดกึ่งแข่งขันกึงผูกขาด
(Monopolistic competition market) ตลาดที่มีผู้ขาย น้อยราย
(Oligopoly
market) ตลาดผูกขาด
(Pure monopoly market)
1. ความหมาย เป็นตลาดซึ่งไม่มีผู้ซื้อหรือผู้ขายรายใดสามารถกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ได้เอง เพราะผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกันการเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดของผู้ผลิตเป็นไปโดยงานตลอดจนผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับตลาดเป็นอย่าง เป็นรูปแบบขององค์การตลาดซึ่งมีผู้ขายจำนวนมากโดยผลิตภัณฑ์แตกต่างกันทั้งนี้ในการเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดในระยะยาวจะค่อนข้างง่าย เป็นรูปแบบขององค์การการตลาดซึ่งมีผู้ชายน้อยรายโดยอาจจะขายผลิตภัณฑ์ทีเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เป็นรูปแบบขององค์การตลาดซึ่งมีผู้ขายผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งเป็นรายเดียวโดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดทดแทน
2. จำนวนคู่แข่งขัน มากที่สุด มาก น้อย หนึ่งราย
3. ขนาดของธุรกิจในตลาด เล็ก แตกต่างกัน (เล็กหรือใหญ่) ใหญ่ ไม่มีคู่แข่งขัน
4. ลักษณะผลิตภัณฑ์ เหมือนกัน แตกต่างกัน คล้ายกันหรือต่างกัน เอกลักษณะไม่มีสินค้าทดแทนได้
5. ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ สินค้าเกษตร ภัตตาคารร้านเสริมสวย น้ำมันเหล็กอื่นๆ โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา
6. บทบาทการกำหนดราคา ไม่มีบทบาทในการกำหนดราคาโดยตลาด(ผู้ชื้อทั้งสิ้นและผู้ขายทั้งสิ้น) มีบทบาทในการกำหนดราคา มีอำนาจในการกำหนดราคาและการกำหนดราคาร่วมกัน มีอำนาจในการกำหนดราคาได้ยกเว้นรัฐบาลจะเข้าไปควบคุมราคา
7. การเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรม ง่ายมาก ง่าย ยาก ยากมาก


หน้าที่องค์การธุรกิจ
หน้าที่องค์การธุรกิจ (Business function) มีหน้าที่ขององค์การธุรกิจที่สำคัญ ดังรูปที่ 1.3




รูปที่ 1.3 แสดงหน้าที่องค์การธุรกิจ (Business Function)

1. องค์การและการจัดการ (Organization and Management (O&M) องค์การ (Organization) หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้น ทำงานร่วมกัน และประสานงานกันเพื่อให้ผลลัพธ์ของกลุ่มประสบความสำเร็จการจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการนำทรัพยากรการบริหารมาใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามขั้นตอนการบริหาร คือ (1) การวางแผน (Planning) (2) การจัดองค์การ (Organizing) ( 3 ) การชักนำ (Leading) (4) การควบคุม (Controlling)
2. การผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operations) ให้มีความสม่ำเสมอในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับการออกแบบทางวิศวกรรม โดยก่อให้เกิดผลเสียต่ำสุดและเกิดผลผลิตสูงสุดตลอดจนมีความรวดเร็วต่อการปรับเข้าหาความต้องการซื้อของลูกค้าได้
3. ทรัพยากรบุคคล (Human Resources) หมายถึง บุคคลในองค์การที่สามารถสร้างมูลค่าของระบบการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
4. การตลาด (Marketing) เป็นการใช้เครื่องมือการตลาด โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า โดยใช้ต้นทุนที่เหมาะสม สามารถเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ได้ทันเวลา
5. การบัญชี (Accounting) เป็นการออกแบบระบบการบันทึกรายการ การจัดทำรายงานการเงิน โดยใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้และแปลความหมายของรายการนั้น
6. การเงิน (Finance) เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อความอยู่รอด ความเจริญเติบโตและความคล่องตัวทางด้านการเงินเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด (Profit maximization) และความมั่งคั่งสูงสุด (Wealth maximization)
7. ระบบสารสนเทศ [Information system (IS)] เป็นระบบของกระบวนการข้อมูลที่ออกแบบเพื่อรวบรวมเก็บรักษา แยกแยะ และนำกลับมาใช้เพื่อสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ การประสานงานและการควบคุม

การค้าปลีก
กิจกรรมในการเป็นผู้ประกอบการนั้นมีอยู่ในอุตสาหกรรมทุกประเภท ธุรกิจขนาดย่อมหลายพันแห่ง เริ่มต้นขึ้นแต่ละปีในรูปแบบของการค้าปลีก การให้บริการ การผลิต การค้าส่ง การก่อสร้าง การขนส่งการเงิน การประกันภัย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจขนาดย่อมได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นในแต่ละส่วนเหล่านี้ของระบบเศรษฐกิจ
โดยทั่วไป การค้าปลีกและธุรกิจให้บริการเข้าไปมีส่วนอย่างสำคัญในธุรกิจที่เริ่มต้นขึ้นใหม่ ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจทั้งสองประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีความเป็นเจ้าของและการดำเนินงานที่เป็นอิสระ
1. ลักษณะของการค้าปลีก
ธุรกิจค้าปลีกมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กที่มียอดขายน้อยจนถึงธุรกิจที่มีการค้าทั่วโลกซึ่งมียอดขายหลายพันล้านบาทและมีสินค้าที่จำหน่ายต่างกันหลายประเภท ร้านค้าปลีกเป็นการดำเนินธุรกิจซึ่งทำการจัดซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากผู้จำหน่าย (ผู้ผลิตหรือพ่อค้าส่ง) และจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ให้แก่ลูกค้า สินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสินค้าซึ่งผู้บริโภคคนสุดท้ายซื้อไปในตัวหรือใช้ในครัวเรือน บทบาทของพ่อค้าปลีกในการแจกจ่ายสินค้าแสดงไว้ในรูปที่ 1.4 ดังนั้น พ่อค้าปลีกจึงทำหน้าที่สำคัญในการแจกจ่ายสินค้า เนื่องจากพวกเข้าช่วยให้มีสินค้าในเวลาและสถานที่ที่ผู้บริโภคต้องการ ธุรกิจทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต พ่อค้าส่งหรือพ่อค้าปลีก รวมถึงสินค้าที่จำหน่ายทางไปรษณีย์หรือโทรศัพท์ ผู้ผลิตและพ่อค้าส่งซึ่งจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงไม่ใช่พ่อค้าปลีก เนื่องจากหน้าที่เบื้องต้นของพวกเขา คือ การจำหน่ายสินค้าให้แก่ธุรกิจอื่นๆ และองค์การที่ไม่หวังกำไรทั้งองค์การเอกชนและองค์การรัฐบาล



รูปที่ 1.4 แสดงบทบาทของพ่อคล้าปลีกในการแจกจ่ายสินค้า

2. ประเภทของสินค้า
สินค้าอุปโภคบริโภคมีหลายประเภทซึ่งอาจจะแบ่งเป็นสินค้าคงทนถาวรหรือสินค้าไม่คงทนถาวร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสินค้านั้นได้รับการคาดหมายว่าจะใช้ได้เป็นเวลานานเพียงใด
สินค้าคงทนถาวร หมายถึง สินค้าที่จับต้องได้ซึ่งจะคงทนมีอายุการใช้งานเป็นเวลาค่อนข้างนานถึงแม้ว่าจะถูกใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น รถยนต์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ ในครัวเรือน และวัสดุก่อสร้างสินค้าไม่คงทนถาวรเป็นสินค้าที่จึงต้องได้เช่นกัน แต่มีความคาดหมายอายุกาใช้งานไว้สั้นกว่า เช่น เสื้อผ้า ยาและอาหาร
3. ประเภทของกิจการค้าปลีก
พ่อค้าปลีกย่อมต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่สำคัญหลายๆ อย่างก่อนที่จะเข้าไปประกอบกิจการค้าปลีก การตัดสินใจเริ่มแรกที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ประเภทของร้านค้าปลีกที่ตั้งใจจะประกอบการเนื่องจากธุรกิจค้าปลีกมีหลายประเภท นอกจากนี้ พ่อค้าปลีกยังต้องพิจารณาถึงขอบเขตของสายผลิตภัณฑ์ที่วางแผนว่าจะจำหน่ายพร้อมทั้งการกำหนดราคาสินค้า
3.1 ร้านค้าปลีกสายเดียว (Single Line Store)
ร้านค้าปลีกสายเดียวเป็นร้านค้าจำหน่ายสินค้าหลายชนิดที่มีอยู่ในสายเดียวกัน และเป็นสินค้าที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น ร้านค้าปลีกสายเดียวที่จำหน่ายเครื่องแต่งกายสุภาพสตรีและจำหน่ายเครื่องแต่งกายสตรีและสินค้าชนิดอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นต้นว่า เครื่องประดับ กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น
3.2 ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง (Specialty Store)
ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่างเป็นร้านที่จำกัดประเภทของสินค้าที่จำหน่าย แต่จะมีสินค้าประเภทนั้นไว้ให้เลือกเป็นจำนวนมากซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าตามที่ต้องการได้ เช่น ร้านค้าจำหน่ายเนคไท จำหน่ายเฉพาะเนคไทหลายแบบ หลายขนาด มีเนื้อผ้า สีและลวดลาย ที่แตกต่างกันไว้ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ
3.3 ร้านค้าปลีกเบ็ดเตล็ด (Variety Store)
ร้านค้าปลีกสินค้าเบ็ดเตล็ดเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้ามากมายหลายประเภท เป็นสินค้าที่มีราคาไม่แพงและใช้กันอยู่ในครัวเรือน เช่นเครื่องเขียน ถ้วยชาม เครื่องสำอาง ของใช้ประจำวัน เป็นต้น
3.4 ร้านสรรพสินค้า
ร้านสรรพสินค้าหมายถึง ร้านที่จำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหลาย ๆ ร้านที่รวมกันอยู่เป็นร้านเดียวกัน เป็นร้านที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ร้านสรรพสินค้ามักจะแบ่งออกเป็นแผนก ๆ ตามประเภทของสินค้า เช่น แผนกเสื้อผ้าสภาพสตรีและเด็ก แผนกเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษ แผนกรองเท้า แผนกของเล่นเด็ก แผนกเครื่องสำอางค์ เป็นต้น นอกจากนี้ ภายในร้านสรรพสินค้าจะมีร้านอาหารและคอฟฟี่ช๊อปเพื่อเป็นบริการให้ลูกค้า และถ้าหากว่าร้านสรรพสินค้ามีขนาดใหญ่อาจจะมีบริการสวนสนุก ที่พักผ่อนให้กับลูกค้าอีกด้วย
ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านสรรพสินค้ากำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย ลูกค้านิยมซื้อสินค้าจากร้านสรรพสินค้า เนื่องจากความสะดวกเรื่องสถานที่จอดรถ การมีสินค้าไว้บริการหลายประเภทช่วยให้ลูกค้าเข้าไปในร้านเดียว แต่ซื้อสินค้าที่ต้องการได้หลายประเภท (one-stop shopping) เป็นการประหยัดเวลา นอกจากนี้ ร้านสรรพสินค้ายังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ บันไดเลื่อน ลิฟต์ เป็นต้น


3.5 ร้านสรรพาหาร (Supermarket)
ร้านสรรพาหารเป็นร้านปลีกที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ ในครัวเรือนทุกเรือนทุกประเภทและเป็นร้านค้าที่ลูกค้าเข้าไปในร้านครั้งเดียว แต่ซื้อสินค้าที่ต้องการได้หลายประเภท ร้านสรรพาหารนำเทคนิคของการบริหารตนเอง (Self service) มาใช้ และจำกัดการให้บริการของร้านค้าซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนดำเนินงานของร้านได้ส่วนหนึ่ง ร้านสรรพาหารใช้วิธีสั่งซื้อสินค้ามาจำหน่ายครั้งละเป็นจำมากเพื่อช่วยให้มีอำนาจต่อรอง ได้รับส่วนลดในการซื้อ และยังประหยัดต้นทุนของสินค้าอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ร้านสรรพาหารจึงสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าร้านค้าปลีกอิสระ
3.6 ร้านค้าแบบให้ส่วนลด (Discount Stores)
ร้านค้าแบบให้ส่วนลดเน้นที่ราคาต่ำกว่าเป็นเครื่องจูงใจที่สำคัญในการจำหน่าย ลูกค้าอาจจะพบผู้ให้ส่วนบดที่เป็นธุรกิจขนาดย่อมซึ่งเสนอสินค้าที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปร้านค้าประเภทนี้เสนอบริการที่จำกัด หรือไม่ให้บริการแก่ลูกค้าเลย
3.7 ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Stores)
ลักษณะของการบริการตนเองและทำเลที่ตั้งของร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าที่ซื้อตามสะดวกช่วยให้ลูกค้าซื้อสินค้าจากร้านประเภทนี้ได้ง่ายมาก ร้านค้าประเภทนี้จำหน่ายสินค้าที่ลูกค้าซื้อตามสะดวกและมักจะเป็นสินค้าจำเป็น เช่น อาหาร สิ่งของเครื่องใช้ประจำวันภายในครอบครัวทำเลที่ตั้งของร้านค้ามักจะตั้งอยู่ใกล้ย่านชุมชน หมู่บ้าน สถานที่ทำงาน ในต่างประเทศ ร้านค้าประเภทนี้จะมีลักษณะลูกค้าขับรถเข้าไปจอดหน้าร้านและสั่งซื้อจากภายในรถ (Drive-in)

ธุรกิจการให้บริการ
ธุรกิจให้บริการจัดหา “บริการ” ให้แก่ผู้บริโภค ธุรกิจอื่น หรือหน่วยงานของรัฐ สินค้าคงทนถาวร และสินค้าไม่คงทนถาวรเป็นสินค้าที่จับต้องได้ แต่บริการเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็น รู้สึก ได้ยิน ได้กลิ่น หรือรู้รสได้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ธุรกิจให้บริการเชี่ยวชาญในการจัดหาบริการต่าง ๆ ธุรกิจให้บริการอาจจะจำหน่ายสินค้าที่จับต้องได้ซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นส่วนประกอบของบริการที่ให้ เช่น ช่างทำผมอาจจะจำหน่ายแชมพูสระผม ร้านซ่อมรถจักรยานอาจจะจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานด้วย
1. ความหมายของธุรกิจให้บริการ
บริการ คือ การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ให้แก่ลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างโดยใช้หลักเกณฑ์ของค่าธรรมเนียมหรือการทำสัญญา ในที่นี้เราจะกล่าวเฉพาะธุรกิจขนาดย่อมโดยจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดใหญ่ บริการของรัฐ หรือองค์การที่ให้บริการโดยไม่แสวงหากำไรอื่นๆ ในบรรดาธุรกิจขนาดย่อมที่ให้บริการนั้น เราสามารถแยกประเภทเป็นธุรกิจที่ให้บริการแก่อุตสาหกรรมหรือผู้ว่าจ้างทางธุรกิจและลูกค้าเอกชน
บริการที่ให้แก่อุตสาหกรรมหรือธุรกิจได้แก่ กิจกรรมต่างๆ เช่น การบำรุงรักษา อาคาร การขนส่งสินค้า การโฆษณา และการออกแบบงานด้านศิลปะ บริการเหล่านี้มักจะถูกพบว่าอยู่ในสายของธุรกิจ บริการอื่นๆ คือ การบัญชีและ/หรือ การตรวจสถาปัตยกรรม การธนาคาร วิศวกรรม การประกันภัย การวิจัยตลาด การประเมินราคาทรัพย์สิน และกิจการด้านการค้าส่งอีกหลายประเภทอย่างไรก็ตาม การดำเนินงานเหล่านี้ บางด้านไม่ได้มีการปฏิบัติเพื่อให้ผู้ใช้ทางธุรกิจเท่านั้น บุคคลเอกชนใช้บริการเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
บริการที่ให้แก่ลูกค้าเอกชนบางครั้งจะผันแปรมากกว่าบริการที่ให้แก่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรม และบ่อยครั้งที่บุคคลซึ่งว่าจ้างบุคคลอื่นเพื่อให้บริการแก่ตนสามรถให้บริการเหล่านี้ได้ ในปัจจุบัน มีการใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมาก ในเรื่องของบริการที่เป็นความจำเป็นของชีวิต เช่น การทำความสะอาด การซ่อมแซม และความช่วยเหลือด้านอาชีพชนิดต่างๆ
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ มีเหตุผลหลายประการ อาหาร ที่อยู่อาศัย และเสื้อผ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากซื้อหามา และเนื่องจากเราต้องวุ่นวายอยู่กับการหาเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายเพื่อความจำเป็นต่างๆ เราจึงต้องการหาความช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่มีเวลาที่จะขวนขวายหามาได้และเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพื่อการซักเสื้อผ้า การทำความสะอาด การซ่อมแซม และอื่น ๆ นอกจากนี้เครื่องจักรบางชนิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลต่าง ๆ มีความซับซ้อน บุคคลเป็นจำนวนมากไม่มีทักษะ หรือไม่มีความปรารถนาที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการซ่อมแซมสินค้าประเภทเครื่องจักที่มีความซับซ้อนซึ่งพวกเขาใช้อยู่เช่น ช่างซ่อมโทรทัศน์ เท่านั้นที่จะสามารถซ่อมเครื่องโทรทัศน์สีได้ บุคคลบางคนทำการซ่อมแซมด้วยตัวเองโดยการซื้อและการปฏิบัติตามคู่มือ แต่เวลาที่เสียไปและเครื่องมือที่ต้องการใช้มักจะทำให้ความพยายามดังกล่าวต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก

2. ลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการ
2.1 ความชำนาญ2.2 เฉพาะด้านของ2.3 การให้บริการ
ลักษณะเด่นประการหนึ่งของธุรกิจบริการคือ ธุรกิจให้ความสนใจกับการให้บริการเพียงประเภทเดียว หรือการให้บริการที่สัมพันธ์กันเพียงไม่กี่ประเภท เช่น ช่างตัดผมจะจำกัดการให้บริการคือ การตัดผมและการให้บริการที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น การโกนหนวด และการสระผม ผู้ให้บริการกำจัดแมลงอื่นๆ ตัวแทนซ่อมรถยนต์จะเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถยนต์ ครูสอนเปียโนจะสอนนักเรียนนักเรียนเปียโนเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน สระว่ายน้ำและโรงภาพยนตร์จะให้ความสนุกสนานเพียงประเภทเดียวตามที่มีการออกแบบไว้
ภายในขอบเขตของการบริการที่ให้อาจจะมีความชำนาญเฉพาะด้านของแรงงานเช่น ช่างทำผมและช่างลำเล็บในร้านเสริมสวยบางร้าน โรงภาพยนตร์ จะมีช่วงผู้ควบคุมห้องฉายภาพยนตร์พนักงานเดินตั๋ว และพนักงานจำหน่ายตั๋ว ความชำนาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นลักษณะที่มีอยู่ในพวกแม่บ้านของโรงแรม ผู้ช่วยชีวิตที่สะว่ายน้ำ ช่างรีดเสื้อผ้าในร้านซักแห้งและนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านตัวถังหรือเบรกในอยู่ซ่อมรถยนต์
ความชำนาญเฉพาะด้านประเภทสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ การให้ความสนใจกับระดับหรือประเภทของลูกค้า ในบรรดาธุรกิจให้บริการ เช่น บริษัทจัดหาคนให้ธุรกิจบางแห่งจะจำกัดการให้บริการหาเฉพาะบุคคลสายอาชีพและระดับบริหาร หรือธุรกิจให้เช่ารถบรรทุกจะให้บริการเฉพาะธุรกิจที่ประกอบ กิจการเกี่ยวกับรถบรรทุกซึ่งเป็นของเจ้าของคนเดียว การให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์โดยสารที่เอกชนเป็นเจ้าของ และโรงแรมบางแห่งต้อนรับเฉพาะแขกทีมาสัมมนา แต่โรงแรมอื่นๆ ไม่รับจัดสัมมนา เนื่องจากทางโรงแรมพิจารณาเห็นว่าเป็นธุรกิจที่ไม่สามารถทำกำไรได้
2.2 หน้าที่ที่คาบเกี่ยวกันระหว่างธุรกิจให้บริการและกิจการค้าปลีก
ธุรกิจให้บริการปฏิบัติหน้าที่ให้บริการในขณะที่กิจการค้าปลีกจำหน่ายสินค้าเป็นหลัก แต่กระนั้นก็ตาม ธุรกิจทั้งสองประเภทนี้ยังมีหน้าที่ที่คาบเกี่ยวกัน เช่น ช่างตัดผมจำหน่ายน้ำยาใส่ผมและเครื่องนวดไฟฟ้า รวมซ่อมวิทยุและโทรทัศน์จำหน่ายหลอดวิทยุและสายอากาศ ร้านซ่อมรถยนต์ จำหน่ายอะไหล่รถ และสระว่ายน้ำบริการจำหน่ายอาหารว่าง ไอศกรีม และเครื่องดื่ม ในกรณีเหล่านี้ การจำหน่ายสินค้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำในหน้าที่ทางการให้บริการอย่างไรก็ตาม ในกรณีอื่นๆ การประกอบกิจการค้าปลีกเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งของธุรกิจให้บริการ เช่นโรงแรมที่มีอาหารไว้บริการในคอฟฟี่ช๊อปหรือห้องอาหาร การให้บริการจำหน่ายอาหารนี้อาจจะดึงดูดแขกที่ไม่ได้พักอยู่ในโรงแรมได้เป็นจำนวนมาก
ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจให้บริการจึงแข่งขันกับกิจการค้าปลีกต่างๆ ในทางตรงกันข้ามจาการค้าปลีกแข่งกับธุรกิจให้บริการ โดยการเพิ่มบริการต่างๆ เช่น ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ที่มีแผนกให้บริการซ่อมรถอยู่ด้วย การที่มีแผนให้บริการซ่อมรถนี้เพื่อเก็บอะไหล่รถและซ่อมรถยนต์ที่มีตัวแทนจำหน่ายให้ลูกค้า แต่ตัวแทนเหล่านี้เปิดบริการแก่ทุกคนเข้ามารับบริการและบ่อยครั้งที่การให้บริการแข่งขันกับการจำหน่ายรถยนต์ ถึงแม้ว่าการจำหน่ายรถใหม่และรถที่ใช้เป็นสายงานหลักธุรกิจการให้บริการซ่อมรถก็เป็นงานรองที่สำคัญ พ่อค้าปลีกที่จำหน่ายเปี่ยนโนและเครื่องดนตรีอื่นๆ จะเสนอให้ผู้ที่ซื้อเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งได้เรียนวิธีการเล่นเครื่องดนตรี นั้น โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนเป็นเวลาสิบสองสัปดาห์ ดังนั้น กิจการค้าปลีก และธุรกิจให้บริการจึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด
กิจการค้าปลีกและธุรกิจให้บริการเสนอบริการบางประเภทให้แก่ลูกค้า โดยไม่คิดมูลค่าเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการขาย การให้บริการของกิจการค้าปลีก เช่น ร้านสรรพสินค้าบริการ ห่อของขวัญในเทศกาลต่างๆ การบริการขนส่งสินค้า และการขยายสินเชื่อให้แก่ลูกค้า ตัวอย่างบริการที่ให้แก่ลูกค้า โดยไม่คิดมูลค่าของธุรกิจให้บริการ เช่น ร้านตัดผมจัดให้มีวิทยุหรือโทรทัศน์เพื่อให้ความบันเทิงแก่ลูกค้าและมีนิตยสารต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าอ่านในระหว่างนั่งคอย ธุรกิจซักรีดและทำความสะอาด หลายแหล่งให้บริการจัดเก็บและจัดส่งถึงบ้านหรือที่ทำงานของลูกค้าด้วย
ความคาบเกี่ยวของหน้าที่การจำหน่าย และการให้บริการดังกล่าวทำให้เป็นการยากที่จะจำแนกประเภทของธุรกิจบางประเภท เช่น ปั๊มน้ำมัน ซึ่งถูกจำแนกประเภทว่าเป็นกิจการค้าปลีกเนื่องจากเป็นธุรกิจที่จำหน่ายน้ำมัน ยางรถยนต์ ถุงมือ ที่กรองน้ำมัน กระจกหูช้าง ที่ผัดน้ำฝน และส่วนประกอบอื่นๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือ ธุรกิจหลักของปั๊มน้ำมัน แต่ปั๊มน้ำมันยังให้บริการที่ก่อให้เกิดรายได้ดี เช่น การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง การล้างรถ การเติมลมยาง การตรวจสอบ และทำการซ่อมเล็กๆ น้อยๆ การให้บริการดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้และกำไรให้กับปั๊มน้ำมัน


2.3 ความพอใจของ2.4 ลูกค้าและความสัมพันธ์กับลูกค้า
2.4.1 การให้บริการที่ตรง2.4.2 ต่อเวลาและมีประสิทธิภาพ ลูกค้าจะต้อง2.4.3 ตัดสินว่าธุรกิจให้บริการเป็นธุรกิจที่ดีหรือไม่โดยพิจารณาจาการตรง2.4.4 ต่อเวลาและคุณภาพของ2.4.5 บริการที่ให้ เช่น ลูกค้าจะเกิดความรำคาญ2.4.6 ถ้าหากว่าเขาต้อง2.4.7 รอช่าง2.4.8 ซ่อมที่ซ่อมสิ่ง2.4.9 ของ2.4.10 ให้ไม่ทันเวลาตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลง2.4.11 กันไว้ บริการกำจัดแมลง2.4.12 ที่เลื่อนการให้บริการออกไปสามครั้ง2.4.13 อาจจะได้รับการบอกกล่าวในครั้ง2.4.14 ที่สี่ว่าไม่ต้อง2.4.15 มาอีกแล้ว เนื่อง2.4.16 จากคู่แข่ง2.4.17 ขันได้ให้บริการกำจัดแมลง2.4.18 เรียบร้อยไปแล้ว หรือนักธุรกิจคนหนึ่ง2.4.19 ได้รับการยืนยันว่ารถที่ขานำไปซ่อมจะเสร็จเวลา 17.00 น. แต่เขาต้อง2.4.20 คอยจนกระทั่ง2.4.21 เวลา 18.00 น. นักธุรกิจผู้นี้จะไม่ได้รับความพอใจไม่ว่ารถของ2.4.22 เขานะได้รับการซ่อมดีเพียง2.4.23 ใดก็ตาม
2.4.24 ความต้อง2.4.25 การลูกค้าที่มาอุดหนุนเป็นประจำ ธุรกิจให้บริการตามความต้อง2.4.26 การลูกค้าอย่าง2.4.27 สม่ำเสมอ โดยข้อเท็จจริง2.4.28 แล้ว ธุรกิจให้บริการเจริญ2.4.29 รุ่ง2.4.30 เรือง2.4.31 ได้ เนื่อง2.4.32 จากลูกค้าที่ได้รับความพอใจกลับมาใช้บริการการให้บริการที่ตรง2.4.33 ต่อเวลาและมีประสิทธิภาพตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นปัจจัยสำคัญ2.4.34 ปัจจัยหนึ่ง2.4.35 ในการก่อให้เกิดการให้บริการซ้ำอีก
2.4.36 ลักษณะส่วนบุคคลของ2.4.37 ความสัมพันธ์กับลูกค้า ลูกค้าที่ได้รับความพอใจและกลับมาใช้บริการนั้นอีกมักจะต้อง2.4.38 การให้มีบริการเฉพาะบุคคล เช่น สุภาพบุรุษบาง2.4.39 คนเปลี่ยนคนเปลี่ยนร้านตัดผมทุกครั้ง2.4.40 ช่าง2.4.41 ตัดผมที่ถูกใจเปลี่ยนไปทำง2.4.42 านร้านอื่น หรือสภาพสตรี บาง2.4.43 คนต้อง2.4.44 การบริการจากช่าง2.4.45 ทำผมคนใดคนหนึ่ง2.4.46
ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลอย่างใกล้ชิดเป็นแบบฉบับที่ดีที่สุดในกรณีของการให้บริการส่วนบุคคล โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีใครที่ขาดการให้บริการไม่ได้ แต่บุคคลเป็นจำนวนมากได้พัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับการให้บริการซึ่งธุรกิจให้บริการจะต้องตระหนักถึงและธุรกิจที่ให้บริการส่วนบุคคลจะต้องดึงดูดและยึดมั่นที่จะติดตามลูกค้าด้วยความจงรักภักดี

3. เหตุผลในการเลือกประกอบธุรกิจให้บริการ
ปัจจัยอะไรที่จูงใจบุคคลให้เข้ามาสู่ธุรกิจให้บริการเนื่องมาจาก
3.1 ธุรกิจให้บริการเป็นหนทางหนึ่งให้บุคคลได้ใช้ทักษะและความสามารถ เพื่อให้เกิดรายได้ และยังมีความต้องการ บริการต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก จุดที่ดึงดูดอีกจุดหนึ่งคือ การติดต่อส่วนบุคคลในธุรกิจให้บริการบางประเภทอยู่ในระดับที่ใกล้ชิดกันมาก
3.2 ความสะดวกสบายในการดำเนินงาน เพราะว่าธุรกิจให้บริการเป็นจำนวนมากสามารถประกอบการภายในที่อยู่ที่อาศัยของผู้ให้บริการได้
3.3 โอกาสที่จะได้กำไร กิจกรรมทางธุรกิจทุกด้านมุ่งสร้างกำไร เมื่อองค์การธุรกิจไม่ก่อให้เกิดกำไร ธุรกิจมักจะประสบความล้มเหลว การหากำไรในองค์การธุรกิจมีหลายวิธี วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือ การให้บริการแก่บุคคลต่างๆ ถ้าหากว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คือ ธุรกิจนั้นมีความเป็นไปได้พอที่จะทำกำไรได้หรือไม่ กิจกรรมการให้บริการเป็นจำนวนมากมีการลงทุนเริ่มแรกน้อย เมื่อผสมผสานปัจจัยนี้กับต้นทุนดำเนินงานที่ต่ำ ธุรกิจย่อมจะมีโอกาสของความเป็นไปได้ที่จะมีกำไรตราบใดที่ยังมีความต้องการบริการของธุรกิจอยู่
3.4 ความต้องการสูง ความต้องการบริการต่างๆ เพิ่มขึ้นไม่สิ้นสุด เช่น บริการซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้เพื่อเลื่อนหรือหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่จะต้องซื้อของใหม่ บริการด้านเทคนิคซึ่งทักษะและความรู้พิเศษเป็นสิ่งจำเป็น และบริการความสะดวกต่างๆ เพื่อให้บุคคลมีเวลาให้กับกิจกรรมอื่นๆ เช่น บุคคลเป็นจำนวนมากต้องการซ่อมแซมทรัพย์สินที่มีค่าแทนที่จะทิ้งไป บุคคลเต็มใจที่จะรอช่างที่ให้บริการคนใดคนหนึ่งเพื่อที่จะนัดหมายเป็นเวลานาน เนื่องจากทราบว่าช่างคนนั้นมีฝีมือดี
3.5 ระดับการติดต่อส่วนบุคคล ธุรกิจให้บริการส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับบุคคล ถ้าหากว่าผู้ประกอบธุรกิจชอบการติดต่อกับคนและมีความสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านั้น แล้วจะมีธุรกิจให้บริการหลายชนิดที่เขาอาจจะพิจารณาประกอบการได้ ธุรกิจให้บริการเหล่านั้นเช่น การขายเลหลัง ช่างตัดผม หรือช่างทำผม ที่ปรึกษา (เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ได้แก่ เสื้อผ้า อาชีพ ธุรกิจ ประชาสัมพันธ์ การลงทุน) ครู (งานอดิเรก ธุรกิจ) ผู้บรรยาย สำนักจัดหางาน สำนักงานท่องเที่ยว และธุรกิจให้บริการอื่นๆ อีกเป็นจำนวนร้อย ได้แก่ การสอนหนังสือ การให้คำปรึกษาร้านเสริมสวย บริการเลี้ยงเด็ก บริการซักอบรีด เป็นต้น

การค้าส่ง
ในการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย พ่อค้าส่งมีบทบาทสำคัญในช่องทางการจำหน่ายพ่อค้าส่งคือ “หน่วยธุรกิจที่ซื้อสินค้าและจำหน่ายต่อไปยังพ่อค้าปลีก พ่อค้าส่งรายอื่น และ/ หรือ จำหน่ายไปยังผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม สถาบันและการพาณิชย์ พ่อค้าส่งไม่ได้จำหน่ายสินค้าในปริมาณที่เห็นได้อย่างชัดเจนไปบังผู้บริโภคคนสุดท้าย”
หลักเกณฑ์เบื้องต้นที่แสดงความแตกต่างระหว่างการค้าปลีกและการค้าส่งคือ เป้าหมายของผู้ซื้อสินค้าที่ผู้ซื้อไปเพื่อใช้ส่วนตัว หรือนำไปใช้ในครัวเรือนคือ การค้าปลีก อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าเป้าหมายของผู้ซื้อคือ ซื้อสินค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ หรือใช้สินค้าในการดำเนินธุรกิจแล้วเรียกว่า การค้าส่ง








รูปที่ 1.5 แสดงบทบาทของพ่อค้าส่งในการจำหน่ายสินค้า

1. หน้าที่ของการค้าส่ง
พ่อค้าส่งปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เพื่อผู้ที่จำหน่ายสินค้าให้เขาและลูกค้าของเขาทั้งสองฝ่ายหน้าที่ของพ่อค้าคล้ายกับหน้าที่การตลาด และพ่อค้าส่งบางประเภทเท่านั้นที่ปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้มิใช่ว่าพ่อค้าส่งทุกรายจะปฏิบัติเช่นเดียวกันหมด
1.1 หน้าที่ของ1.2 พ่อค้าส่ง1.3 ที่ส่ง1.4 ปฏิบัติต่อลูกค้า
1.1.1 คาดการณ์ความต้องการล่วงหน้า ในฐานะที่เป็นตัวแทนซื้อสินค้าให้ลูกค้าพ่อค้าส่งจะพยากรณ์อุปสงค์ของลูกค้าและจัดการซื้อสินค้าตามการพยากรณ์ดังกล่าว
1.1.2 จัดกลุ่มสินค้าขึ้นใหม่ พ่อค้าส่งอาจจะจัดกลุ่มสินค้าใหม่อย่างน้อยที่สุดหนึ่งขั้นตอนหรือบางครั้งจัดกลุ่มสินค้าขึ้นใหม่ทุกขั้นตอน การที่พ่อค้าส่งปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเพื่อที่จะจัดหาประเภทสินค้าซึ่งลูกค้าต้องการโดยเสียต้นทุนต่ำสุด
1.1.3 ถือครองสินค้าคงเหลือ พ่อค้าส่งถือครอบครองสินค้าคงเหลือเพื่อช่วยบรรเทาภาระความจำเป็นของลูกค้าที่จะต้องมีสินค้าคงเหลืออยู่ในมือ
1.1.4 จัดส่งสินค้า หมายถึง หน้าที่ในการจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า พ่อค้าส่งส่วนใหญ่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งเพื่อจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า ได้อย่างรวดเร็วโดยเสียค่าใช้จ่ายในอัตราต่ำ
1.1.5 ให้สินเชื่อ พ่อค้าส่งสามารถขยายการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าซึ่งหน้าที่นี้จะสำคัญมากขึ้นในกรณีที่ลูกค้ามีทุนจำกัด การปฏิบัติหน้าที่ประการนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าพอใจซื้อสินค้าจากพ่อค้าส่งมากกว่าผู้ผลิตโดยตรง เพราะว่าผู้ผลิตไม่สามารถให้สินเชื่อได้
1.1.6 ให้ข่าวสารและบริการแนะนำ เนื่องจากพ่อค้าส่งและพนักงานขายเป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับสินค้าที่จำหน่ายจึงเป็นผู้ที่เหมาะสม ที่จะแนะนำเรื่องราคา และเทคนิคต่างๆ ในการจำหน่ายและการติดตั้งสินค้าให้แก่ลูกค้า
1.1.7 ปฏิบัติหน้าที่จัดซื้อบางส่วน พ่อค้าส่งช่วยปฏิบัติหน้าที่จัดซื้อให้แก่ลูกค้า การที่พ่อค้าส่งมีหนักงานขายออกไปติดต่อกับลูกค้าจึงเป็นการแบ่งเบาภาระในการเสาะแสวงหาของลูกค้าโดยที่ลูกค้าเพียงแต่สินค้าที่พักงานขายนำมาเสนอขาย และตัดสินใจซื้อ
1.1.8 เป็นเจ้าของและเปลี่ยนสิทธิในสินค้า การเป็นเจ้าของสินค้าช่วยให้พ่อค้าส่งสามารถตัดสินใจจำหน่ายสินค้าให้แก่ค้าโดยตรงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น ค่านายหน้า เป็นต้น
1.2 หน้าที่ของพ่อค้าส่งที่ปฏิบัติต่อผู้ผลิต
1.2.1 ปฏิบัติหน้าที่การจำหน่ายบางส่วนของผู้ผลิต พ่อค้าส่งเป็นฝ่ายไปหาผู้ผลิตเองทำให้ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องพนักงานขายของตนเองจำนวนมากนัก บางครั้งพ่อค้าส่งยังมีส่วนช่วยในการโฆษณา และจัดโปรแกรมส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ผลิตอีกด้วย
1.2.2 เก็บรักษาสินค้าคงเหลือพ่อค้าส่งช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ผลิตที่จะต้องถือครองสินค้าไว้เป็นจำนวนมากทำให้ผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้างเหลือน้อยลง
1.2.3 ช่วยเหลือด้านการเงินโดยการถือครองสินค้างคงเหลือ ผู้ผลิตสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่พ่อค้าส่งในทันทีที่ผลิตเสร็จ และสามารถนำรายได้จากการจำหน่ายไปลงทุนต่อโดยไม่ต้องมีเงินทุนจมอยู่ในสินค้าคงเหลือมากเกินไป
1.2.4 ลดความเสี่ยงภัยจาการให้สินเชื่อ พ่อค้าส่งย่อมจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้ามากกว่าผู้ผลิต ทั้งนี้เนื่องจากพ่อค้าส่งจำนวนสินค้าประเภทอื่นแก่ลูกค้าของเขาอยู่ก่อนแล้วจึงทราบฐานะทางการเงินของลูกค้าได้ดีกว่าผู้ผลิต ซึ่งจะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ถ้าหากว่าต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละคน
1.2.5 จัดหาข่าวสารเกี่ยวกับตลาด เนื่องจากพ่อค้าส่งใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่าจึงสามารถสังเกตปฏิกิริยาของลูกค้าเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงสินค้าแทนที่ผู้ผลิตจะต้องทำการวิจัยหาข้อมูลเอง
2. ประเภทของพ่อค้าส่ง
2.1 MARCHANT WHOLESALERS คือ พ่อค้าส่งที่มีกรรมสิทธิ์และเป็นเจ้าของสินค้าที่มีอยู่และปฏิบัติหน้าที่บางด้านหรือทุกด้านตามที่กล่าวมาแล้ว MERCHANT WHOLESALERS แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1.1 พ่อค้าส่งให้บริการเต็มที่ โดยทั่วไป พ่อค้าส่งประเภทนี้ปฏิบัติหน้าที่ทุกด้านแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1) พ่อค้าส่งสินค้าทั่วไป คือ พ่อค้าส่งที่ถือครองสินค้าประเภทคงทนถาวรได้หลายประเภท เช่น เครื่องใช้ที่ทำจากอะลูมิเนียมหรือเหล็กไร้สนิม อุปกรณ์ไฟฟ้า ท่อประปา เฟอร์นิเจอร์ ยาเครื่องสำอาง และอะไหล่รถยนต์ สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าสะดวกซื้อและสินค้าเลือกซื้อ ด้วยเหตุที่พ่อค้าส่งสินค้าทั่วไปถือครองสินค้าไว้หลายประเภททำให้จำหน่ายสินค้าให้กับร้านทั่วๆ ไป เช่น ร้านจำหน่ายยา ร้านจำหน่ายเครื่องโลหะ
2) พ่อค้าส่งผลิตภัณฑ์สายเดียวกันหรือสายทั่วไป พ่อค้าส่งชนิดนี้จำหน่ายสินค้าในวงแคบกว่าชนิดแรกคือ จำหน่ายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น อาหาร เครื่องกระป๋องของชำ สี หรือเครื่องมือทางอุตสาหกรรมประเภทใดประเภทหนึ่ง
3) พ่อค้าส่งสินค้าเฉพาะเจาะจง พ่อค้าส่งชนิดนี้จำกัดการจำหน่ายสินค้าในวงแคบลงไปอีก เช่น ถ้าหากว่าจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารจะจำหน่ายเฉพาะประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น อาหารที่ช่วยเสริมสุขภาพ อาหารของเด็กหรือผู้สูงอายุแทนที่จะจำหน่ายอาหารทุกประเภท
2.1.2 พ่อค้าส่งให้บริการจำกัด คือ พ่อค้าส่งที่ปฏิบัติหน้าที่เพียงบางส่วน ทั้งนี้ เนื่องจากบางครั้งลูกค้าอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้บริการจากพ่อค้าส่ง หรือบริการบางชนิดไม่เหมาะสมแก่ลูกค้า พ่อค้า ประเภทนี้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ
1) พ่อค้าส่งขายสดและขนสินค้าไปเอง ในบางครั้ง การที่พ่อค้าส่งจะให้บริการแก่พ่อค้าปลีกรายย่อยๆ อาจจะไม่คุ้ม ดังนั้น พ่อค้าจะจำหน่ายสินค้าให้พ่อค้าปลีกรายย่อยก็ต่อเมื่อพ่อค้าปลีกนั้นนำเงินสดมาซื้อ การกระทำเช่นนี้เปรียบเสมือนว่าพ่อค้าส่งปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับพ่อค้าปลีก ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากพ่อค้าส่งไม่จำเป็นต้องให้บริการทุกด้าน
2) พ่อค้าส่งประเภทจัดการกับคำสั่งซื้อ หมายถึง พ่อค้าส่งที่รับใบสั่งซื้อจากพ่อค้าปลีกผู้ใช้หรือแม้แต่พ่อค้าส่งด้วยกันเอง และส่งใบสั่งซื้อไปผู้ผลิตเพื่อให้ผู้ผลิตส่งสินค้าไปให้ผู้ที่ต้องการโดยตรงโดยที่พ่อค้าส่งไม่ต้องถือครองสินค้าไว้จัดส่งเอง สินค้าเหล่านี้มักจะเป็นสินค้าจำนวนมาก เช่น น้ำมัน ไม้ บางครั้งพ่อค้าส่งชนิดนี้อาจจะต้องเสาะหาผู้ผลิตที่สินค้าที่ที่ลูกค้าต้องการช่วยอำนวยสะดวกเรื่องการขนส่งหรืออาจจะช่วยเหลือด้านการเงิน เช่น ให้สินเชื่อแก่ผู้ซื้อ
3) พ่อค้าส่งเร่ พ่อค้าส่งเร่ชนิดนี้อาศัยอยู่บนรถบรรทุกและตระเวรนำหน่ายสินค้าไปตามสถานที่ต่างๆ สินค้าส่วนใหญ่ไม่ใช่สินค้าคงทนถาวร เช่น บุหรี่ ขนมหวาน ผลไม้ เป็นต้น
4) พ่อค้าส่งทางไปรษณีย์ คือพ่อค้าส่งที่ส่งสินค้าทางไปรษณีย์ ในทางปฏิบัติ พ่อค้าส่งชนิดนี้อาจจะจำหน่ายสินค้าแก่ผู้บริโภคคนสุดท้ายโดยปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับพ่อค้าปลีก แต่จะให้ส่วนลดในกรณีที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก
5) สหกรณ์ผู้ผลิต คือ สหกรณ์ผู้ผลิตซึ่งจัดตั้งเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิกโดยการรวบรวมสินค้าจากสมาชิกแล้วช่วยนำไปจำหน่ายในตลาด
2.2 RACK JOBBER หมายถึง พ่อค้าส่งที่จำหน่ายให้แก่ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด หรือร้านสรรพาหารทั่วไป Rack Jobber มักจะมีความชำนาญเกี่ยวกับสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่นเครื่องใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์ต่างๆ
2.3 FACTORS หมายถึง พ่อค้าส่งที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อโดยการซื้อบัญชีลูกค้าของธุรกิจตามปกติ พ่อค้าส่งชนิดนี้มีความชำนาญเรื่องการค้าและเต็มใจที่จะขยายสินเชื่อให้ในระยะเวลาที่ยากกว่าธนาคารพาณิชย์

3. ปัญหาของพ่อค้าส่ง
พ่อค้าส่งขนาดย่อมดำเนินงานภายใต้สภาพแวดล้อมของการแข่งขันเช่นเดียวกับองค์การธุรกิจทุกประเภท พ่อค้าจะต้องตัดสินใจเรื่องต่างๆ เป็นจำนวนมากที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความต่อเนื่องในการประกอบธุรกิจปัญหาของพ่อค้าขนาดย่อมได้แก่
3.1 ปัญ3.2 หาการบริการ
ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งเกี่ยวข้องกับบริการที่เสนอให้ พ่อค้าต้องตัดสินใจว่าจะเสนอบริการที่สมบูรณ์หรือไม่ (การขนส่ง การให้สินเชื่อ การเก็บรักษาสินค้า) หรือให้บริการที่จำกัดแต่เพียงบางด้านเท่านั้น
3.3 ปัญ3.4 หาเรื่อง3.5 ตรายี่ห้อ
พ่อค้าส่งจะต้องกำหนดนโยบายว่าจะใช้ตรายี่ห้ออะไรเช่นเดียวกับพ่อค้าปลีกพ่อค้าส่งอาจจะใช้ตรายี่ห้อของผู้ผลิตที่จำหน่ายทั่วประเทศ ตรายี่ห้อส่วนบุคคลของผู้จำหน่าย หรือตรายี่ห้อทั้งสองชนิดผสมกัน ถึงแม้ว่าการใช้ตรายี่ห้อส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายจะช่วยให้พ่อค้าส่งซื้อสินค้าได้ในราคาที่ตำกว่าแต่ตรายี่ห้อของผู้ผลิตที่จำหน่ายทั่วประเทศต้องการโฆษณาน้อยกว่าและสามารถกำไรได้สูงกว่า

3.6 ปัญ3.7 หาของ3.8 สิ่ง3.9 อำนวยความสะดวก
ปัญหาที่สำคัญของพ่อค้าส่ง คือการตัดสินใจว่าจะต้องมีอาคารหลายชั้นหรืออาคารชั้นเดียวจึงจะตอบสนองความต้องการได้ดีที่สุด นอกจากนี้ การเลือกทะเลที่ตั้งในสถานที่ซึ่งเข้าออกได้สะดวก

สรุป
ธุรกิจ (Business) คือ ความพยายามที่เป็นแบบแผนของนักธุรกิจในการผลิต และขายสินค้าหรือบริการ เพื่อสนองความต้องการของสังคมโดยมุ่งหวังกำไร
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ต้องใช้ทรัพยากร 4 ชนิดต่อไปนี้ 1) ทรัพยากรวัสดุ(Material resources) 2) ทรัพยากรบุคคล (Human resources) 3) ทรัพยากรการเงิน (Financial resources) 4) ทรัพยากรข้อมูล (Informational resources)
ธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) ธุรกิจการผลิต (Manufacturing business) 2) ธุรกิจบริการ (Service businesses) 3) คนกลางทางการตลาด (Marketing middleman)
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) ประกอบด้วย 1) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม 2) ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน ซึ่งประกอบด้วย ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์
นักเศรษฐศาสตร์ แบ่งการแข่งขันในตลาดออกเป็น 4 ตลาด ดังนี้ 1) ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure competition) 2) ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic competition) 3) ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) 4) ตลาดผูกขาด (Monopoly)
หน้าที่องค์การธุรกิจ (Business function) เป็นหน้าที่ขององค์การธุรกิจที่สำคัญ คือ 1) องค์การและการจัดการ Organization and Management (O & M) 2) การผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operations) 3) ทรัพยากรบุคคล (Human Resources) 4) การตลาด (Marketing) 5) การบัญชี (Accounting) 6) การเงิน (Finance) 7) ระบบสารสนเทศ (Information System : IS)
การค้าปลีก การค้าส่ง และการให้บริการเป็นรูปแบบของธุรกิจยังคงมีอยู่ในสังคมไทยที่พบเห็นได้โดยทั่วไป










แบบฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน
บทที่ 1 ความหมายของธุรกิจ

จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
ธุรกิจ หมายถึง ...............................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
2. ผู้ประกอบการ หมายถึง .......................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
3. ทรัพยากรที่จำเห็นในการดำเนินงานทางด้านธุรกิจมี ..................... ประเภท ได้แก่
..................................................................................................................................................................
4. โรงพิมพ์รับจ้างพิมพ์การ์ดแต่งงาน จัดเป็นธุรกิจประเภท.......................................................................
5. เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินงานทางด้านธุรกิจ คือ...............................................................................
6. การศึกษาธุรกิจมีประโยชน์ คือ ............................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
7. ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม การจัดสรรทรัพยากรใช้ .....................เป็นเครื่องมือ
8. ในระบบตลาดเสรีแบ่งตลาดออกเป็น ..................... ประเภท คือ ......................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
อุตสาหกรรมรถยนต์ จัดเป็นสินค้าในการตลาด ...................................................................................
องค์การธุรกิจหนึ่งๆ มีหน้าที่สำคัญๆ คือ ............................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................






คำถามท้ายบทที่ 1

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียง 1 ข้อ
ข้อใดมีความตรงกับคำว่าธุรกิจ
การชื้อมา – ขายไปของธุรกิจ
การจัดระเบียบแผนการดำเนินงานทางธุรกิจ
การดำเนินงานที่มุ่งหวังกำไรของธุรกิจ
การทุ่มเทแรงกายแรงใจในการดำเนินงานทางธุรกิจ
ทรัพยากรใดที่สำคัญที่สุดในการจัดการธุรกิจ
ก. ทรัพยากรวัสดุ ข. ทรัพยากรข้อมูล
ค. ทรัพยากรบุคคล ง. ทรัพยากรการเงิน
ข้อใดเป็นธุรกิจบริการ
ก. โรงงานผลิตกระเบื้อง ข. โรงงานปูนซีเมนต์
ค. โรงงานประกอบรถยนต์ ง. โรงพิมพ์รุ่งธนเกียรติ
เป้าหมายสำคัญของการดำเนินงานทางธุรกิจคือข้อใด
ผลิตสินค้าบริการจำหน่าย
ผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของสังคม
ผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ
ผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของรัฐบาล
การเป็นลูกจ้างที่ดี มีความหมายตรงกับข้อใด
สามารถเลือกอาชีพที่ต้องการได้
สามารถทำงานในบริษัทธุรกิจได้
สามารถสร้างความก้าวหน้าให้ตนเองได้
สามารถทำงานในระบบราชการได้
ปัจจัยการผลิตได้แก่ข้อใด
แรงงาน เงิน เครื่องจักร
แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ
แรงงาน ทุน ทรัพยากรธรรมชาติ และผู้ประกอบการ
แรงงาน เงิน เครื่องจักร และผู้ประกอบการ
ประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด
ก. ระบบทุนนิยม ข. ระบบตลาดเสรี
ค. ระบบสังคมนิยม ง. ระบบเศรษฐกิจผสม

ตลาดรถยนต์จัดเป็นตลาดตามข้อใด
ก. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ข. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ค. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย ง. ตลาดผูกขาด
ข้อใดไม่เป็นลักษณะตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ผู้ผลิตรายใหญ่สามารถกำหนดราคาตลาดได้
ผู้ซื้อผู้ขายมีมากราย
สินค้าในตลาดสามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์
ไม่มีข้อกีดกันทางการตลาด
ระบบข้อมูลสารสนเทศ มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร
เป็นข้อมูลในการโจมตรีคู่แข่งขัน
เป็นข้อมูลในการหลอกลวงลูกค้า
เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน
เป็นข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อใช้ในการหลีกเลี่ยงภาษี

ตอนที่ 2 จงตอบคำถามต่อไปนี้
องค์การธุรกิจหนึ่งๆ มีหน้าที่อย่างไร อธิบาย
ในการดำเนินงานทางธุรกิจจะต้องใช้ทรัพย์ใดบ้าง อธิบาย
ตลาดในระบบตลาดเสรีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง อย่างไร

Comments

Popular posts from this blog

ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ม�