Posts

Showing posts from February 22, 2007
"หนังสือดีเปรียบเสมือนโลหิตที่หล่อเลี้ยงวิญญาณผู้เจริญ" "การอ่านคือรากฐานของชีวิต ทำให้ดวงจิตแจ่มใส เกิดความคิดก้าวไกล" อ.สุนีย์ สินธุเดชะ "เพชรมณีใช่มีทุกภูผา กฤษณาใช่หาได้ทุกแห่งหน แม้ช้างเผือกใช่เลือกได้ทุกตำบล เมธีชนใช่มีทั่วทุกครัวเรือน"
ภูมิปัญญาหมากล้อมกับ วิถีแห่งกลยุทธ์เชิงบูรณาการ (1) โดย สุวินัย ภรณวลัย 12 กรกฎาคม 2548 17:45 น. www.suvinai-dragon.com หมากล้อม นอกจากจะเป็น เกมกระดาน ที่เก่าแก่หลายพันปี ที่น่าทึ่งมีมนต์ขลัง มีความลุ่มลึก และสนุกที่สุดในโลกเกมหนึ่งที่คนรุ่นใหม่ทุกเพศทุกวัยไม่ว่าเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ และผู้สูงวัยควรจะตื่นตัวหันมาให้ความสนใจศึกษาให้มากเพื่อการพัฒนาสติปัญญาแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง หมากล้อมยังเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แทนความฉลาด ความมีปัญญาหลักแหลม ลึกซึ้งอีกด้วย เพราะเกมหมากล้อมได้รับการยอมรับมานับพันปีในแผ่นดินจีน โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นปกครองนักการทหาร และเหล่าปราชญ์บัณฑิตว่า เป็นเกมที่ต้องใช้กลยุทธ์ ใช้เล่ห์กล ใช้ปฏิภาณ ใช้จินตนาการ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ใช้กำลังสมาธิ และกำลังสติของผู้เล่นเป็นอย่างมากในการเอาชนะกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เสน่ห์ของเกมหมากล้อมนี้มีมนต์ขลัง ขนาดดึงดูดคนฉลาด คนหัวดีที่สามารถจะเรียนอะไร จะเป็นอะไรก็ได้ในโลกนี้ ให้มาทุ่มเทชีวิตจิตใจทั้งชีวิตให้กับมันแบบมืออาชีพได้ เพราะเกมหมากล้อมเป็น เกมอัจฉริยะของเหล่าอัจฉริยะ (the gam
ทักษะการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ การเรียนวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาทักษะนั้น นักศึกษาต้องใช้ความมานะพยายาม และความอดทน หลักการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษให้ได้ผลนั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะความสำเร็จในการเรียนวิชาภาษา ซึ่งเป็นวิชาทักษะนั้น อาศัยทั้งความเข้าใจและการฝึกฝนทบทวนบ่อย ๆ อยากทราบว่าตนเองยังมีพื้นฐานภาษาอังกฤษค่อนข้างน้อย ก็ควรที่จะเพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น ฟังพูดอ่านเขียน ทักษะการฟัง มีพฤติกรรมการฟังอยู่ 5 ระดับ คือ ขั้นรับรู้ฝึกสังเกตความแตกต่างของภาษาเกี่ยวกับเสียง คำ การเน้น และระดับเสียงขึ้น-ลงของข้อความ ขั้นระลึกสามารถที่จะเข้าใจความหมายของข้อความสั้น ๆ ที่ได้ยิน ขั้นรับความคิด สามารถที่จะเข้าใจสัญลักษณ์ทางไวยากรณ์ คำศัพท์ ประโยคและบทความสั้น ๆ ขั้นเข้าใจ สามารถเข้าใจคำอธิบาย รู้จักจับความของข้อความที่ได้ยิน แม้ว่าจะมีคำที่ไม่รู้ความหมายอยู่ด้วยก็ตามสามารถฟัง และเข้าใจข้อความที่ผู้พูดพูดออกมาอย่างรวดเร็วได้ ขั้นวิเคราะห์ สามารถแยกแยะได้ว่าข้อความที่ได้ยินว่า เป็นภาษามาตรฐานหรือไม่ รูปประโยคถูกต้องหรือไม่ เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก และความมุ่งหมายของผู้พูดจากน้ำเสียง และ
การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ การอ่านนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมากสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพราะนักศึกษาจะต้องศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อหลักคือ เอกสารการสอนเป็นสำคัญ ในเรื่องการอ่านนี้นักศึกษาคงจะเคยเห็นว่าบางคนมีความสามารถในการอ่านได้เร็วและยังเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านได้ด้วย แต่บางคนอ่านได้ช้าและบางครั้งยังไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่อ่านไปด้วย ถ้าคนใดมีความสามารถในการอ่านดีแล้วจะได้ประโยชน์จากการอ่านมาก ถ้าสามารถอ่านได้เร็วก็จะทำให้มีเวลามากกว่าคนอื่น ๆ ในการทบทวนตำราก่อนสอบหรือมีเวลาสำหรับทำกิจกรรมอย่างอื่นได้มากขึ้นกว่าคนที่อ่านได้ช้ากว่า การอ่านหนังสือไม่ใช่เพียงแค่อ่านข้อความตามตัวหนังสือที่มีไว้ในหนังสือให้จบเล่มเท่านั้น แต่การอ่านนั้นมีจุดประสงค์สำคัญคือการรับรู้ความหมาย และทำความเข้าใจกับข้อความที่เขียนเป็นตัวหนังสือ การจะอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ นักศึกษาต้องรู้ว่าก่อนว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้อ่านหนังสือได้ขาดประสิทธิภาพ และ พยายามแก้ไขตามสาเหตุเหล่านั้น สาเหตุที่ทำให้การอ่านหนังสือขาดประสิทธิภาพ มีดังนี้ การอ่านทีละคำ การอ่านออกเสียง ปัญหาเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะ ก
อ่านอย่างไรให้จำได้ การจำในทีนี้ ไม่ได้หมายความถึงการจำโดยการท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ขอเน้นการจำในลักษณะ ของความเข้าใจ หรือการจำอย่างมีความหมาย จำอย่างมีความคิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนจากเอกสารการสอน การอ่านเอกสารการสอนให้จำได้สามารถปฏิบัติได้ดังนี้ อ่านส่วนนำของเนื้อหา การอ่านส่วนนำของเนื้อหา จะทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมของเนื้อหา ความสัมพันธ์ของเนื้อหา รวมทั้งเป้าหมายของเนื้อหาทีจะเรียน ซึ่งในเอกสารการสอน ได้มีส่วนนำของเนื้อหาอยูแล้ว คือ แผนการสอนประจำหน่วยและแผนการสอนประจำตอน นั่นเอง การอ่านทำความเข้าใจและสามารถจำแนวคิดได้ จะช่วยให้จำหัวเรื่องหลัก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเนื้อหาทีจะนำไปสูเนื้อหาย่อยของแต่ละหัวข้อ จัดระบบของเนื้อหา เมื่อถึงส่วนของเนื้อหา ขณะอ่าน พยายามจัดระบบของเนื้อหา เช่น จัดกลุ่ม หรือ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหัวข้อและเนื้อหา การเปรียบเทียบเนื้อหา เป็นต้น จะทำให้มองเห็นกลุ่มก้อน ความเชื่อมโยง ความเหมือนหรือความแตกต่างของเนื้อหา ซึ่งจะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น ในทางปฏิบัตินักศึกษาควรอ่านเป็นส่วนๆที่ละเรื่องโดยอ่าน 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านคร่าวๆ เพื่อจับประเด็นของเนื