ส่วนที่ 1 ข้อมูลสรุป (EXECUTIVE SUMMARY)

ความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระหว่างรอบปีบัญชี 2548 (จากเดือนกันยายน 2547 ถึงเดือนสิงหาคม 2548) คือการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนสองกลุ่มหลักอันได้แก่ นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายบุคคล โดยที่ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนสถาบันเมื่อเทียบเป็นอัตราร้อยละของปริมาณการซื้อขายรวมทั้งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากประมาณร้อยละ 25.8 ในเดือนกันยายน 2547 เป็นร้อยละ 42.3 ในเดือนสิงหาคม 2548 ในขณะที่ปริมาณการซื้อขายของ นักลงทุนรายบุคคลลดลงจากร้อยละ 74.2 เหลือเพียงร้อยละ 57.7 ในช่วงเวลาเดียวกัน ภายใต้บรรยากาศการลงทุนที่ยังผันผวน เนื่องจากปัจจัยการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงปัญหาจากพิบัตภัย “สึนามิ” ที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงปลายปี 2547 ซึ่งส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในช่วง 615 ถึง 746 จุด

ภายใต้แนวนโยบายและแผนงานในการทำธุรกิจ ที่มุ่งเน้นในเรื่องของการขยายฐานลูกค้าและการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ส่งผลให้จำนวนบัญชีที่เปิดใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 2,600 บัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากความพยายามในการทำการตลาดของเจ้าหน้าที่แต่ละคนและการทำงานเป็นทีม กิจกรรมทางการตลาดที่ทางบริษัทฯได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมาได้แก่ การจัดการสัมมนาอบรมในหัวข้อที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ เพื่อที่จะสร้างความสนใจในสินค้าและบริการของเราให้แก่นักลงทุน นอกจากนี้ บริษัทฯยังได้จัดโรดโชว์ในต่างประเทศ โดยการเชิญผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยไปร่วมให้ข้อมูลแก่ผู้จัดการกองทุนเช่นในฮ่องกงและสิงค์โปร์ ในขณะเดียวกันบริษัทฯก็ได้เชิญวิทยากรเช่น นักเศรษฐศาสตร์ นักกลยุทธ และนักวิเคราะห์ จากบริษัทโนมูระในต่างประเทศมาให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับตลาดทุนในภูมิภาคให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยด้วย นอกจากนั้นความพยายามในการมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของงานวิจัยหลักทรัพย์ของบริษัทฯก็เป็นที่ประจักษ์และประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยที่บริษัทฯได้รับรางวัล “บริษัทหลักทรัพย์ที่มีบทวิจัยดีเด่นประจำปี ในสาขานักลงทุนรายบุคคล” จากการจัดงาน SET AWARD ในเดือนกรกฎาคม 2548

สำหรับธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากการลดลงของปริมาณการซื้อขายรวมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนสองกลุ่มหลัก ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณธุรกิจทางด้านนักลงทุนสถาบันของบริษัทฯยังไม่มากพอเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวม ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบปีบัญชี 2548 ลดลงร้อยละ 29.2 จาก 25.6 พันล้านบาทในปี 2547 เหลือเพียง 18.1 พันล้านบาท ในขณะที่รายได้ค่านายหน้าของบริษัทฯในรอบปีบัญชี 2548 คิดเป็น 631 ล้านบาท ลดลง 44.5% จากปีก่อนหน้านี้ โดยในปีบัญชีนี้บริษัทฯมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 2.91 จัดอยู่ในอันดับ 13 ของผู้ประกอบการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รวม 38 แห่ง โดยที่สัดส่วนปริมาณการซื้อขายของลูกค้าสถาบันต่อลูกค้ารายบุคคลคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ต่อร้อยละ 82 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปริมาณการซื้อขายของลูกค้าสถาบันของบริษัทฯมีสัดส่วนที่น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวม และเป็นจุดที่บริษัทจะต้องพัฒนาให้มีปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ

ในด้านธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) เพื่อการขายชอร์ตสำหรับลูกค้ารายบุคคล ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ที่บริษัทฯเปิดให้บริการเมื่อรอบปีบัญชี 2546 มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากแผนงานที่มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ลูกค้าและนักลงทุนอย่างสม่ำเสมอในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนบัญชี SBL ที่เปิดใหม่ในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 154.3 จาก 333 บัญชีเป็น 847 บัญชี และมีปริมาณการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ตลอดทั้งปี คิดเป็นมูลค่ารวม 1,110.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 114.2 % จากปีก่อนหน้านี้ สำหรับในปีหน้า บริษัทฯมีแผนที่จะดำเนินการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกรรม SBL อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี นอกจากนี้บริษัทฯยังอยู่ในระหว่างการศึกษาพัฒนาความเป็นไปได้ที่จะนำเสนอธุรกรรม SBL นี้ให้แก่ลูกค้าสถาบันของบริษัทฯอันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้แก่ลูกค้าของบริษัทฯอย่างทั่วถึงด้วย

การจัดตั้งสายงานตราสารหนี้ในปีที่ผ่านมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอทางเลือกในการลงทุน นอกเหนือจากตราสารทุนให้แก่ลูกค้าของบริษัทฯ และในขณะเดียวกันเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้แก่บริษัทฯก็มีพัฒนาการที่น่าพอใจเช่นกัน บริษัทฯมีรายได้จากการซื้อขายตั๋ว B/E (Bill of Exchange) และได้รับแต่งตั้งให้ร่วมจัดจำหน่ายตราสารหนี้เอเชียบอนด์ สกุลเงินบาทหนึ่งรายการ นอกจากนี้บริษัทฯยังอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อเป็นที่ปรึกษาหรือผู้รับประกันการจัดจำหน่ายให้แก่ ตราสารหนี้ภาคเอกชนอีกจำนวนหนึ่งด้วย

สำหรับธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจและคาดว่าจะเกิดในช่วงต้นปี 2549 คือ ธุรกิจ “ตราสารอนุพันธ์” ซึ่งบริษัทฯได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และได้รับอนุมัติให้เป็นสมาชิกของตลาดตราสารอนุพันธ์แห่งประเทศไทยในช่วงปลายของรอบปีบัญชีนี้ ตราสารอนุพันธ์เป็นตราสารที่นักลงทุนสามารถนำมาใช้ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedge) ในการลงทุนในตลาดทุนได้ และบริษัทฯคาดว่าธุรกิจนี้จะมีส่วนในการเพิ่มรายได้ให้แก่บริษัทฯได้อย่างมีนัยสำคัญในอนาคต

ทางด้านธุรกิจวาณิชธนกิจ บริษัทฯมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจนี้ให้มีความเข้มแข็ง ด้วยเล็งเห็นว่าแหล่งรายได้ที่สำคัญอย่างยิ่งในอนาคตสำหรับบริษัทหลักทรัพย์จะมาจากการทำธุรกรรมทางด้านวาณิชธนกิจ บริษัทฯได้ทุ่มเทความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้มาซึ่งงานทางด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การรับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และการเป็นที่ปรึกษาทางด้านการควบรวมกิจการ ซึ่งความพยายามนี้ได้ส่งผลให้บริษัทฯในรอบปีบัญชี 2548 ได้รับงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและเป็นผู้รับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทที่เข้าจดทะเบียน (IPO) จำนวน 2 หลักทรัพย์ และเข้าร่วมเป็นผู้จัดจำหน่ายอีก 18 หลักทรัพย์ อีกทั้งยังได้รับแต่งตั้งจากบริษัทที่สนใจเข้าจดทะเบียนอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

นอกจากการบริหารธุรกรรมดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯยังคงใช้นโยบายการบริหารเงินกองทุนอย่างระมัดระวังรอบคอบ โดยเน้นลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำและใช้เงินกองทุนเพื่อการขยายธุรกิจเป็นหลัก ทั้งทางด้านธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การให้กู้ยืมเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ต การรับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจตราสารอนุพันธ์ เป็นต้น

ปัจจัยทางธุรกิจต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชี 2548 ของบริษัทฯมีกำไรสุทธิ 170.38 ล้านบาท เทียบกับผลกำไรสุทธิ 364.95 ล้านบาทในรอบปีบัญชี 2547 โดยที่ฐานะทางการเงินของบริษัทฯยังคงความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดสินทรัพย์รวม 4,395.07 ล้านบาท ขณะที่ยอดรวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 784.95 ล้านบาท และ 3,610.12 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับในปีบัญชี 2549 บริษัทฯจะดำเนินนโยบายที่มุ่งเน้นในด้านการขยายฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ การพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และสร้างความแข็งแกร่งในแหล่งรายได้ที่มีความหลากหลาย โดยมีแผนงานหลักดังต่อไปนี้ :

1. เพิ่มปริมาณธุรกิจทางด้านการเป็นนายหน้าสำหรับลูกค้าสถาบันโดย :
1.1 พัฒนาและปรับปรุง1.2 ให้ง1.3 านวิจัยของ1.4 บริษัทฯสามารถตอบสนอง1.5 ความต้อง1.6 การของ1.7 นักลง1.8 ทุนสถาบันได้ดียิ่ง1.9 ขึ้น
1.10 จัดโรดโชว์ให้แก่นักลง1.11 ทุนสถาบันต่าง1.12 ประเทศไม่เฉพาะในทวีปเอเชีย แต่รวมไปถึง1.13 ยุโรปและอเมริกา
1.14 นำเสนอข้อมูลและมุมมอง1.15 เกี่ยวกับทิศทาง1.16 ของ1.17 ตลาดทุนในภูมิภาคและทั่วโลกให้แก่ลูกค้าและนักลง1.18 ทุนในประเทศโดยวิทยากร เช่น นักเศรษฐศาสตร์ นักกลยุทธ นักวิเคราะห์จากต่าง1.19 ประเทศ อย่าง1.20 ต่อเนื่อง1.21
1.22 อบรมและฝึกสอนพนักง1.23 าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึง1.24 การรับพนักง1.25 านใหม่ที่มีศักยภาพ
1.26 เพิ่มปริมาณหุ้น IPO และตราสารหนี้ต่าง1.27 ๆ เพื่อนำเสนอต่อลูกค้าของ1.28 บริษัทฯ รวมถึง1.29 ตราสารและ ธุรกรรมใหม่ ๆ เช่น ธุรกรรม SBL และ ตราสารอนุพันธ์ เป็นต้น

2. เพิ่มปริมาณธุรกิจทางด้านการเป็นนายหน้าสำหรับลูกค้ารายบุคคลโดย :
2.1 พัฒนาคุณภาพและบริการทาง2.2 ด้านง2.3 านวิจัยอย่าง2.4 ต่อเนื่อง2.5
2.6 จัดการอบรมและสัมมนา เพื่อสร้าง2.7 ความรู้ความเข้าใจในธุรกรรม SBL เพื่อการขายชอร์ตอย่าง2.8 ต่อเนื่อง2.9 ตลอดทั้ง2.10 ปี
2.11 พัฒนาระบบการซื้อขายทาง2.12 อินเตอร์เน็ตของ2.13 บริษัทฯให้ดียิ่ง2.14 ขึ้น เพื่อใช้ในการขยายฐานลูกค้าทั้ง2.15 ในกรุง2.16 เทพฯ และต่าง2.17 จัง2.18 หวัด
2.19 พัฒนาฝึกฝนอบรมพนักง2.20 าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าของ2.21 บริษัทฯ
2.22 นำเสนอบริการหรือธุรกรรมที่มีความหลากหลายให้แก่ลูกค้าของ2.23 บริษัทฯ เช่น IPO ตราสารหนี้ หน่วยลง2.24 ทุนของ2.25 กอง2.26 ทุนรวม การกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และ SBL เพื่อการขายชอร์ตผ่านทาง2.27 พนักง2.28 านและระบบอินเตอร์เน็ตของ2.29 บริษัทฯ

3. ตั้งเป้าเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านตราสารอนุพันธ์โดย :
3.1 ลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น เพื่อนำเสนอข้อมูลให้แก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงที่ดีแก่บริษัทฯ
3.2 จัดการอบรมและสัมมนาให้แก่ลูกค้าและนักลง3.3 ทุนเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีในเรื่อง3.4 ตราสารอนุพันธ์
3.5 นำเสนอธุรกรรม SBL เพื่อการขายชอร์ต ควบคู่ไปกับตราสารอนุพันธ์ เนื่อง3.6 จากธุรกรรมทั้ง3.7 สอง3.8 นี้สามารถนำมาใช้ประกอบกันในการป้อง3.9 กันความเสี่ยง3.10 ในการลง3.11 ทุน
3.12 ประสานความร่วมมือกับบริษัทโนมูระ ผู้ซึ่ง3.13 มีประสบการณ์ในธุรกรรมตราสารอนุพันธ์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่ง3.14 ขันให้แก่บริษัทฯ

นอกจากนี้ สิ่งที่บริษัทฯต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องยังรวมถึงการพัฒนาคุณภาพบุคลากร มาตรฐานการปฎิบัติงาน การยึดมั่นในความเป็นผู้นำที่ดี การมีวินัยทางการเงิน และการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันจะเป็นปัจจัยซึ่งจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น (Shareholder Value) ในระยะยาว

Comments

Popular posts from this blog

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

การเดินทางของวิชาเศรษฐศาสตร์

ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ม�